ข่าวข่าวภูมิภาค

ศาลตัดสิน ‘เซเว่น’ ชนะคดี หนุ่มวิจารณ์ เซเว่น ลอกสูตร ‘บานาน่า’

ศาลฎีกาพิพากษาตัดสินให้ เซเว่น ชนะในคดี หลังจากที่ถูกวิจารณ์และกล่าวหาว่า เซเว่น ลอกสูตร โตเกียว บานาน่า ขนมยอดนิยมจากญี่ปุ่น

สำนักบริหารการสื่อสารองค์กร บมจ.ซีพี ออลล์ ออกข่าวประชาสัมพันธ์ จากกรณีที่ นายชิน รติธรรมกุล (นายชินฯ) ที่เขียนและเผยแพร่บทความหมิ่นประมาท บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด เมื่อวันที่ 21-22 เมษายน 2558 ในเว็บไซต์โอเคเนชั่นใน

Advertisements

โดยมีเนื้อหาประมาณว่า บริษัทฯ เป็นบริษัทใหญ่ แต่ไปรังแกผู้ประกอบการรายย่อยที่เสนอสินค้าเข้ามาขายในร้านสะดวกซื้อ 7-11 ด้วยการลอกเลียนสูตรสอดไส้ครีมคัสตาร์ดรสกล้วยของผู้ประกอบการรายย่อยแล้วนำไปทำการค้าหาประโยชน์เอง อันเป็นการรังแกเอาเปรียบผู้ประกอบการรายย่อย โดยบทความดังกล่าวถูกส่งต่อในสังคมออนไลน์ และเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ อย่างแพร่หลาย ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ในการประกอบการของบริษัทฯ ตลอดมานั้น

บริษัทฯ จึงได้แจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่นายชินฯ ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 ซึ่งพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง และเสนอสำนวนการสอบสวนต่อพนักงานอัยการ

ต่อมา พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องนายชินฯ เป็นจำเลย ข้อหาหมิ่นประมาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2843/2559 ซึ่งนายชินฯ ได้เปิดเผยความจริงว่า นายชินฯ ได้รับข้อมูลและเนื้อหาบทความดังกล่าวมาจาก นางสาว พ. โดยที่นายชินฯ เองก็ไม่ทราบว่าเป็นความจริงหรือไม่ และได้จัดทำบทความไปโดยไม่เคยสอบถามความเป็นจริงจากบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้แสดงหลักฐานในการดำเนินคดีให้เห็นว่า บริษัทฯ ไม่มีการกระทำใดที่จะไปกระทำหรือเอาเปรียบผู้ประกอบการรายย่อยตามที่กล่าวหาในบทความ ซึ่งนายชินฯ ได้ทำหนังสือแสดงความรู้สึกเสียใจและขอโทษบริษัทฯ ต่อหน้าศาล โดยนายชินฯ ยินดีที่จะแก้ไขฟื้นฟูความเสียหายของบริษัทฯ ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและจะเผยแพร่บันทึกประนีประนอมยอมความระหว่างบริษัทฯ กับ นายชินฯ และเอกสารย่อคำฟ้องคดีอาญา (“บันทึกฯ”) ที่แสดงถึงเหตุการณ์ในเรื่องนี้ในเว็บไซต์โอเคเนชั่นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ 29 มีนาคม 2560 และจะลงติดต่อกับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 รายละเอียด บันทึกฯ ปรากฏตามเอกสารแนบ

บริษัทฯ จึงได้แสดงน้ำใจโดยไม่ต้องการดำเนินคดีกับบุคคลที่ได้รู้สำนึก และไม่ใช่ตัวการที่แท้จริง ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายจากนายชินฯ คดีจึงได้ระงับไปตามคดีอาญาแดงที่ อ.987/2560 แต่นายชินฯ กลับไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (“สัญญาฯ”) ที่ได้กระทำต่อหน้าศาลดังกล่าว บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องฟ้องนายชินฯ ในข้อหาผิดสัญญาฯ ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.860/2560

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้ว โดยศาลพิพากษาว่า นายชินฯ เป็นฝ่ายผิดสัญญาฯ และนายชินฯ ต้องลงประกาศบันทึกฯ ในเว็บไซต์โอเคเนชั่นภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบังคับต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 8 เดือน 26 วัน นายชินฯ ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ เป็นเงินจำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่บริษัทฯ ด้วย

Advertisements

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องชี้แจงให้ประชาชน และเรียนย้ำต่อคู่ค้าของบริษัทฯ ได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทฯ และเพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงการใช้วิจารณญาณ ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลใดๆ ในสังคมออนไลน์รวมตลอดถึงเพื่อป้องปรามมิให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลอื่นใด แสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยการใส่ความผู้อื่น หรือการทำการตลาดด้วยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่เกิดกับบริษัทฯ อีกต่อไปด้วย

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button