การเงิน

เริ่มแล้ว วันนี้ คุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท DPA ไขข้อสงสัย 3 ความเข้าใจผิด

คุ้มครองเงินฝาก เหลือ 1 ล้านบาท สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ปรับลดวงเงินคุ้มครอง เริ่มแล้ววันนี้ 11 ส.ค.64 แจงเงินฝากส่วนที่เกิน ยังมีสิทธิได้รับคืน

การปรับลดวงเงิน คุ้มครองเงินฝาก ล่าสุดที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ 11 ส.ค.64 เป็นต้นไป ทำให้ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากจะได้รับความคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อบัญชีต่อรายสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นวงเงินที่กำหนดตามกฎหมาย จากเดิมที่วงเงินคุ้มครองเงินฝาก อยู่ที่ 5 ล้านบาท

คุ้มครอบบัญชีเงินฝาก 5 ประเภท

1. เงินฝากกระแสรายวัน

2. เงินฝากออมทรัพย์

3. เงินฝากประจำ

4. บัตรเงินฝาก

5. ใบรับฝากเงิน

ด้านเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับ 3 ความเข้าใจผิดในการปรับลด คุ้มครองเงินฝาก เหลือ 1 ล้านบาท ดังนี้

ความเข้าใจผิดที่ 1

  • เงินฝากส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท จะไม่ได้รับคืน

คุ้มครองเงินฝาก

ความเข้าใจผิดที่ 2

  • ลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก เพราะสถาบันการเงินมีปัญหา

คุ้มครองเงินฝาก

ความเข้าใจผิดที่ 3

  • การปรับลดวงเงินคุ้มครอง ในช่วงโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อประชาชน

คุ้มครองเงินฝาก

คุ้มครองเงินฝาก คืออะไร ?

นโยบายและมาตรการสำคัญของภาครัฐเพื่อให้การคุ้มครองผลประโยชน์ ของประชาชนผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินว่าจะได้รับเงินฝากคืนภายในเวลา ที่รวดเร็วหากสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งประสบปัญหาต้องถูกเพิกถอน ใบอนุญาต

วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาทมีผลอย่างไร

ผู้ฝากเงินทุกรายได้รับการคุ้มครองภายใต้วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท โดยผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาทจะได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน (ผู้ฝากเงินร้อยละ 98.03 ของผู้ฝากเงินทั้งหมดเป็นผู้ฝากเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท)

ทั้งนี้ในส่วนของผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากเกินกว่าวงเงินคุ้มครองในสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต จะได้รับความคุ้มครองตามวงเงิน คือ 1 ล้านบาท โดยในส่วนเกินจากวงเงินคุ้มครองจะอยู่ภายใต้การดำเนินการชำระบัญชีของสถาบันคุ้มครองเงินฝากต่อไป ทั้งนี้การเฉลี่ยทรัพย์ที่ได้จากการชำระบัญชีจะขึ้นกับมูลค่าทรัพย์ที่ได้รับการจัดการและตามระยะเวลาที่ดำเนินการ

สถาบันการเงิน ใดบ้าง ?

สถาบันการเงินที่คุ้มครองเงินฝาก ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครอง ณ ปัจจุบัน ประกอบด้วย

ธนาคารพาณิชย์ไทย 19 แห่ง สาขาธนาคารต่างประเทศ 11 แห่ง บริษัทเงินทุน 2 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง

รวมทั้งสิ้น 35 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564)

สามารถตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองได้ที่ https://www.dpa.or.th/articles/view/list-of-insured-financial-institutions

อ้างอิงข้อมูล : สถาบันคุ้มครองเงินฝาก, ประชาชาติธุรกิจ

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button