ตัวแทนสื่อ ยื่น ‘ศาลแพ่ง’ ปกป้องหลังถูก ยิงกระสุนยางใส่สื่อ
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และ สื่อมวลชน รวมตัวยื่นศาลแพ่งอีกครั้ง เพื่อขออำนาจศาลปกป้อง จนท. ยิงกระสุนยางใส่สื่อ และ ปชช.
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยสื่อมวลชนผู้ได้รับผลกระทบจากการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้เดินทางศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลคุ้มครองฉุกเฉินอีกครั้ง คุ้มครองสวัสดิภาพ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยการชุมนุมต่อจากนี้ ที่มีแนวโน้มอันสามารถคาดหมายได้ว่าจะได้รับความเสียหายจากการใช้กำลังสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐต่อไป
โดยคำร้องขอคุ้มครองดังกล่าวคือ
1.ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนใช้ความรุนแรง เช่น ใช้อาวุธปืนกระสุนยาง แก๊สน้ำตา ฉีดน้ำผสมสารเคมี ทำร้ายร่างกาย โจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนที่สวมปลอกแขนสีขาวหรือสัญลักษณ์อื่นที่แสดงว่าเป็นสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชนผู้มาชุมนุม หรือกระทำการใดอันเป็นการขัดขวาง คุกคาม ข่มขู่ จำกัดพื้นที่การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน
2.ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน สั่งการเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน
3.ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน และเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุมโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เนื่องจากโจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนย่อมได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมด้วย
ศาลเเพ่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว 2 นักข่าวขอคุ้มครองห้ามเจ้าหน้าที่ใช้กระสุนยางกับผู้ชุมนุมในอนาคต 2 สื่อฯ เหยื่อกระสุนยาง ร้องศาลแพ่งเรียกค่าเสียหายตร. ขอคุ้มครองชั่วคราว ห้ามใช้กระสุนยาง
ด้านนายสัญญา เอียดจงดี ทนายความภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน บอกว่า วันนี้เป็นการมายื่นให้ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวอีกครั้ง หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนจะมีการชุมนุมวันที่ 7 ส.ค ตนและสื่อมวลชนได้มายื่นไปแล้ว 1 ครั้ง แต่ศาลกลับยกคำร้อง ด้วยเหตุผลที่ระบุว่ายังไม่มีข้อมูลว่าจะมีการสลายการชุมนุมโดยความรุนแรง และยังคงเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าการสลายการชุมนุม วันที่ 7 ส.ค.มีการใช้ความรุนต่อสื่อมวลชนและประชาชนเกิดขึ้น
นายสัญญากล่าวว่า ขณะเดียวกันวันนี้ได้พาสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 7 ส.ค. ซึ่งได้รับความเสียหายจากการสลายการชุมนุมเข้ามาร้องศาลเพิ่มเติม รวมทั้งนำเอกสารหลักฐานพยานต่างๆ ที่ระบุถึงเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมายในการสลายการชุมนุม พร้อมยืนยันว่าการร้องศาลครั้งนี้จะมุ่งไปยังการคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน รวมถึงประชาชนก็จะได้รับการคุ้มครองไปด้วย
- ด่วน! ศาลแพ่ง ห้าม นายกฯใช้ ข้อบังคับ 29 ควบคุมสื่อ
- ตัวแทน ‘สื่อ’ รวมตัวยื่นศาลแพ่ง ถอน ข้อกำหนดฉบับที่ 29
- เยาวชนปลดแอก ยุติการชุมนุมม็อบ7สิงหา หลังปะทะตำรวจนานหลาย ชม.