ข่าว

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมแจกยา ฟาวิพิราเวียร์ชนิดน้ำ สำหรับเด็ก พรุ่งนี้ 6 ส.ค.

เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงการพัฒนาคิดค้นสูตร ตำรับยาน้ำเชื่อม ฟาวิพิราเวียร์ สำหรับเด็ก เตรียมเปิดให้รับยาผ่านเว็บไซต์ ฟรี

วันที่ 5 ส.ค.64 เว็บไซต์ Khaosod Online รายงานว่า นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยถึงการพัฒนาและคิดค้นสูตร“ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) ต้านเชื้อไวรัส แบบน้ำเชื่อม สำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย

Advertisements

นพ.นิธิ กล่าวว่า การใช้ยาต้านไวรัส หากได้ยาเร็วภายใน 4 วันหลังมีอาการจะลดอาการหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล และน่าจะลดการเสียชีวิตได้ โดยยาชนิดน้ำ คิดค้นร่วมกันของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด เพื่อผลิตยาในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ต้องรับประทานให้หมดภายใน 30 วัน หากใครจะนำตำรับยาเราไปผลิตโรงพยาบาลที่อื่นๆ โดยราชวิทยาลัยไปช่วยควบคุมมาตรฐาน ทางเราก็ยินดี

พญ.ศรัยอร ธงอินเนตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า การใช้ยาต้านไวรัส เป็นหัวใจสำคัญในการลดความรุนแรงของโรค โดยยาฟาวิพิราเวียร์เริ่มใช้ในญี่ปุ่นกรณีใช้ในโรคไข้หวัดใหญ่

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโควิดจะใช้ในขนาดที่มากพอสมควร โดยวันแรก 70 มก./กก./วัน วันต่อมาใช้ 35 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง ดังนั้น หากเด็ก 10 กก.จะต้องทานถึง 1 เม็ดกับอีก 3 ส่วน 4 เม็ด แต่หากใช้เป็นยาน้ำจะป้อนเด็กได้ง่ายขึ้น โดยวันแรกจะใช้ 27 cc ต่อครั้ง วันละ 2 ครั้ง วันต่อมาจะใช้ 12 cc หรือ 3 ส่วน 4 เม็ด

หากได้รับยานี้ เบื้องต้นแนะนำให้ยาเป็นเวลา 5 วัน วันแรก หรือยา 2 มื้อแรก ต้องรับยาค่อนข้างมากตามที่กำหนด คือ 4 เท่าของปริมาณปกติ เพื่อให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้นเพียงพอต่อการแข็งตัวของไวรัส จากนั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนด และต้องติดตามใน 4 วัน และต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม จะให้ขอยารับยาได้ในวันที่ 6 ส.ค.นี้ ผ่านเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์

Advertisements

ทั้งนี้ สถานพยาบาลอื่นๆ หรือแพทย์สามารถขอมาทางราชวิทยาลัยได้ แต่ระยะแรกสามารถผลิตยาได้ไม่มาก ประมาณ 100 รายต่อสัปดาห์ หรือ 20 รายต่อวัน และจะได้ยาภายใน 1 วัน หลังจากลงทะเบียนกรอกข้อมูลเรียบร้อย และจะจัดยาไม่เกินเวลา 20.00 น.ของทุกวัน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดส่งอาจต้องรับผิดชอบเอง หรือประสานผู้ร่วมมือจัดส่งให้

อ้างอิงข้อมูลจาก : Khaosod Online, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button