ชาวเน็ตรุมถาม! หลัง ‘ไทยรู้สู้โควิด’ โพสต์ถึง ประสิทธิภาพซิโนแวค
ชาวเน็ตรุมถามหาเอกสารวิชาการ หลังจากที่ ‘ไทยรู้สู้โควิด’ โพสต์อวด ประสิทธิภาพซิโนแวคว่าสามารถป้องกันโควิดในสถานการณ์จริงได้ดี
เพจ ไทยรู้สู้โควิด ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กซึ่งเป็นข้อความที่อ้างอิงจากเพจไทยรู้สู้โควิด ถึงศักยภาพในการป้องกันโรคโควิดของวัคซีนซิโนแวค ซึ่งทางเพจได้อ้างว่าวัคซีนซิโนแวคสามารถป้องกันเชื้อได้ดีในสถานการณ์จริง
โดยทางเพจระบุว่า “1. จ.ภูเก็ต ได้ติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. 64 จำนวนกว่า 1,500 ราย พบการติดเชื้อ เพียง 124 ราย หากเทียบกันระหว่างผู้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน พบว่าประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.7%
2. จ.สมุทรสาคร ได้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กว่า 500 ราย ช่วงเดือน เม.ย. 64 พบติดเชื้อ 116 ราย ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.5%
3. จ.เชียงราย ได้ติดตามกรณีการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข ช่วงเดือนมิ.ย. 64 กว่า 500 ราย พบการติดเชื้อ 40 ราย
นอกจากนี้ ยังได้ติดตามความรุนแรงเรื่องปอดอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ประสิทธิผลของซิโนแวค 2 เข็มป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 88.8% และป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ 84.9% สำหรับ บุคลากรที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็มครบ 14 วัน ป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 83.8%
4. กรมควบคุมโรค ได้ใช้ฐานข้อมูลติดตามบุคลากรสาธารณสุขที่ติดเชื้อทั้งประเทศ และข้อมูลการรับวัคซีนช่วงเดือน พ.ค. 64 ที่การระบาดเป็นสายพันธุ์อัลฟา พบว่าประสิทธิผลซิโนแวค 2 เข็ม อยู่ที่ 71%
ส่วนเดือน มิ.ย. 64 ที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาทั้งประเทศราว 20 – 40% พบประสิทธิผลอยู่ที่ 75%
ดังนั้น หากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันติดเชื้อจากสายพันธุ์อัลฟาได้ประมาณ 90% และป้องกันปอดอักเสบได้ 85% ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลตาขณะนี้ ถือว่ายังคงที่
สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้น และการฉีดสลับประเภทของวัคซีนนั้น จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบว่าจะสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิมได้รวดเร็วและสูงมากขึ้น”
อย่างไรก็ตามเมื่อข้อความดังกล่าวได้ถูกชาวเน็ตตั้งคำถามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และมีการเรียกร้องให้แสดงหลักฐานเอกสารวิชาการ หรือ นำข้อมูลดังกล่าวผ่านกระบวนการตรวจสอบจากนักวิชาการท่านอื่น (Peer Review)