ข่าว

เคาะ ฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด แอสตราเซนเนก้า เข็ม 2 แทน ซิโนแวค

มติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ ฉีดวัคซีนโควิด สลับชนิด ให้ “ซิโนแวค” เข็มแรก ตามด้วย แอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มสอง ห่าง 3-4 สัปดาห์

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2564 ซึ่งมีการแถลงข่าวแบบออนไลน์ ในวันนี้ (12 ก.ค.)

Advertisements

อันเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ใน กทม.-ปริมณฑล ยังน่าเป็นห่วง พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการระบาดของสายพันธุ์เดลตา โดยเฉพาะในสถานประกอบการ โรงงาน ตลาดค้าส่ง คาดว่าหากพบผู้ติดเชื้อสูงถึงใกล้หมื่นรายต่อวัน หรือประมาณ 1 แสนกว่ารายใน 2 สัปดาห์นี้

สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีข้อสรุป 4 เรื่อง ได้แก่

1. เห็นชอบการฉีดวัคซีนโควิด 19 สลับชนิด โดยเข็ม 1 คือ ซิโนแวค และเข็ม 2 เป็น แอสตร้าเซนเนก้า ระยะเวลาห่าง 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสในระดับที่สูงและเร็วมากยิ่งขึ้น รพ.ดำเนินการได้ทันที

2. รับทราบการฉีดบูสเตอร์โดสบุคลากรการแพทย์ด่านหน้า ในการให้วัคซีนเข็ม 3 ห่างจากเข็มสองระยะ 3-4 สัปดาห์ขึ้นไป

ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าส่วนใหญ่รับสองเข็มแรกเกิน 4 สัปดาห์แล้ว จะดำเนินการฉีดบูสเตอร์โดสได้เลยทันที เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูงและเร็วที่สุด

Advertisements

โดยบูสเตอร์โดสจะเป็นแอสตร้าฯ เป็นหลัก มีข้อมูลวิชาการว่าการให้คนละชนิดในเข็มกระตุ้นมีผลดีสร้างภูมิคุ้มกันในบุคคลเพื่อป้องกันโรคโควิด 19

3. แนวทางการใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit ตรวจหาเชื้อโควิด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการตรวจหาเชื้อที่มีการระบาดหลายพื้นที่ ประชาชนไม่ต้องรอคิวนานในการไปตรวจหาเชื้อด้วยวิธีสวอปจมูกหรือ RT-PCR ที่ใช้เวลานานมาก

4.เห็นชอบแนวทางการแยกกักที่บ้านและชุมชน (Home Isolation / Community Isolation) ในผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเข้ารักษา รพ.ได้ ไม่มีอาการรุนแรง โดยมีเครื่องวัดไข้ วัดออกซิเจนในกระแสเลือด และยา ซึ่ง สปสช.ทำแนวทางขึ้นมาแล้วพร้อมอาหาร 3 มื้อ ร่วม รพ.เจ้าภาพที่ดูแลผู้ป่วย จะให้การดูแลเต็มที่

นอกจากนี้ ยังรับทราบแนวทางการดำเนินงาน Comprehensive Covid-19 Response Team (CCR Team) 200 ทีมในพื้นที่ กทม.เพื่อดูแลโควิดสีเขียวถึงบ้าน ทั้งทางกายและจิตใจ หรือผู้ป่วยที่กลับมาจาก รพ.แล้ว พร้อมนำชุดคัดกรองต่างๆ ที่เป็นแอนติเจนเทสต์คิทไปให้บริการถึงชุมชนถึงบ้านที่อยู่

วางแผนทางการเงินเมื่อป่วยโควิด สนใจทำประวัติโควิด-19 กับ Tadoo คลิกที่นี่

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button