เยียวยาโควิดล่าสุด นายจ้าง-ลูกจ้าง ไม่มีประกันสังคม รับเงินทางไหน?
เคลียร์ทุกข้อสงสัย มาตรการเยียวยา นายจ้าง – ลูกจ้าง ที่ไม่มีประกันสังคม แต่ต้องการรับเงินเยียวยา จากผลกระทบคำสั่งล็อกดาวน์ ฉบับล่าสุด
จากมาตรการเยียวยาล่าสุดของผู้ได้รับผลกระทบในระบบประกันสังคม จากคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับล่าสุด ที่บังคับใช้ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครอบคลุม 6 จังหวัด และ 4 จังหวัดชายแดนใต้
ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
- ธุรกิจการก่อสร้าง ที่มีการปิดไซต์งาน
- ร้านอาหาร ที่ให้เปิดบริการเฉพาะซื้อกลับไปทานเท่านั้น (Take Away)
สำหรับ มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ “ในระบบประกันสังคม” ทุกคนคงทราบแล้วว่า
รัฐบาล จะจ่ายชดเชยสิทธิประโยชน์ว่างงานเหตุสุดวิสัยแก่ลูกจ้าง ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน สุงสุดไม่เกิน 7,500 บาท
นอกจากนี้ ภาครัฐยังสมทบเงินเพิ่มเติมทางให้แก่ลูกจ้างในระบบประกันสังคม 2,000 บาทต่อราย กรณีลูกจ้างถูกลดเงินเดือนหรือบางธุรกิจไม่จ่ายเงินเดือน
ขณะเดียวกัน นายจ้าง ผู้ประกอบการ ในระบบประกันสังคม จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เป็นระยะเวลา 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม หลายคนมีคำถามว่า ถ้าในกรณีของ นายจ้าง – ลูกจ้าง ไม่มีประกันสังคม จะได้รับเงินเยียวยาดังกล่าวด้วยหรือไม่
คำตอบ คือ “ได้รับเช่นกัน” แต่มีข้อแม้ ดังนี้
นายจ้าง-ลูกจ้าง ที่อยู่นอกระบบประกันสังคม
– นายจ้าง ได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท
– ลูกจ้าง ที่มีสัญชาติไทยได้รับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท
โดยต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” เพื่อที่จะได้รับความช่วยเหลือดังกล่าว
แต่ในกรณีของเงินเยียวยาเหตุสุดวิสัยนั้น
ตามกฎหมายประกันสังคมลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน ทำให้ ลูกจ้าง นอกระบบประกันสังคมจะไม่ได้รับเงินเยียวยาตรงนี้ไป
ส่วน ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง
สามารถลงทะเบียนในแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ผ่านทางโครงการคนละครึ่ง โดยกระทรวงแรงงานจะประสานกระทรวงมหาดไทยช่วยตรวจสอบข้อมูล และจะจ่ายเงินเยียวยาจำนวน 3,000 บาท
อ้างอิงข้อมูล : รัฐบาลไทย
- ด่วน!! รับฐาล ประกาศเยียวยา ล็อกดาวน์ 6 จังหวัด จ่ายค่าจ้าง 50%
- ด่วน!! ไม่เลื่อนคนละครึ่งเฟส 3 เริ่มใช้จ่าย 1 ก.ค.นี้ ช่วยจ่าย 50% 3000 บาท
- เสนอลดเงินเดือน นักการเมือง-ข้าราชการ เยียวยาร้านอาหาร