คลัง หารือ ธนาคาร ออก มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เฉพาะกิจ
กระทรวงการคลัง ดำเนินการประชุมหารือกับ ธนาคารของรัฐ แบบเฉพาะกิจ ในการออก มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ในวันนี้ (24 มิ.ย.) กระทรวงการคลัง ได้ทำการประชุมหารือร่วมกับ ธนาคารของรัฐ ทุกแห่งแบบเฉพาะกิจ เพื่อดำเนินการออก มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ แก่ประชาชน และผู้ประกอบการรายย่อย ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยให้ระยะเวลาในการคิดแผนงาน และเสนอกลับมาให้ทางกระทรวงได้พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์
เบื้องต้นทุกธนาคารเห็นตรงกันว่าจะมีการพักชำระหนี้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบไปจนสิ้นปี 64 จากปัจจุบันที่ช่วงเวลาพักหนี้ของธนาคารแต่ละแห่งไม่เท่ากัน และมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน
โดยจะจัดทำเป็นมาตรการกลางแทน ซึ่งมีธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งเสนอแผนช่วยเหลือลูกหนี้เป็นกรณีพิเศษ จากเดิมที่พักเงินต้นแต่ให้จ่ายดอกเบี้ยตามปกติหรือบางส่วน เป็นการพักชำระเงินต้นและ ลดดอกเบี้ยเหลือ 0% หรือ คิดแค่ 0.01% ต่อปีเท่านั้น
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่ามาตรการดังกล่าวเพื่อบรรเทาผลกระทบผู้ได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น โดยมาตรการแต่ละธนาคารสามารถดำเนินการได้เลย ไม่ต้องมติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะไม่ได้ขอรับการชดเชย ธนาคารยอมสูญเสียรายได้เพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่ยืนยันว่าไม่กระทบกับฐานะโดยรวมของธนาคาร เนื่องจากมีการตั้งสำรองในระดับสูง มีการบริหารความเสี่ยง จึงมีฐานะแข็งแกร่ง
สำหรับการลดเพดานดอกเบี้ยเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยในส่วนที่กระทรวงการคลังดำเนินการผ่าน พิโกไฟแนนซ์และนาโนไฟแนนซ์ ก็มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำพอสมควร
ขณะที่ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐก็ดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้ว บางมาตรการที่ออกมาช่วยเหลือลูกหนี้ก็มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อซอฟท์โลนด้วยซ้ำ
ส่วนกรณีของธนาคารพาณิชย์ กระทรวงการคลังจะหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร็ว ๆนี้ เพื่อพิจารณาว่าสามารถทำได้หรือไม่ และทำได้มากน้อยแค่ไหน ในกลุ่มลูกค้าใดบ้าง
แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – สถานีข่าวกระทรวงการคลัง
สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ
- ราคาทองวันนี้ 24/6/64 ทองเปิดลดลง 50 บาท ทองรูปพรรณขายออกบาทละ 27,350
- ธ.ก.ส. ขยายเวลา สินเชื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง