เครียด! กทม. รับ ผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีแดงอีกแค่ 20 เตียง
อธิบดีกรมการแพทย์ ออกมาแรงงานถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมเปิดเผยว่า กทม. รับ ผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีแดงอีกแค่ 20 เตียง
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย โดย นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า ขณะนี้สถานการณ์เตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐทุกระดับสีในพื้นที่กทม. ทุกแห่งศักยภาพในการรรับเกือบเต็มที่จะรับผู้ป่วยรายใหม่แล้ว โดยเฉพาะเตียงผู้ป่วยสีแดงในกทม. เหลือประมาณ 20 เตียง
จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่า การระบาดระลอกเดือนเมษายนจะมีเตียงรองรับผู้ป่วยได้วันละ 400-500 คน ซึ่งขณะนั้นแต่ละโรงพยาบาลได้แบ่งเตียงไอซียูในทุกสังกัดเพิ่มขึ้น รวมถึงการแบ่งโซน 6 พื้นที่ในกทม.เพื่อดูแลผู้ป่วยและบริหารจัดการเตียงร่วมกัน แต่เนื่องจากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อในกทม. ยังคงเพิ่มขึ้นทุกวันมากกว่าพันคนในแต่ละวัน ทำให้สถานการณ์เตียงที่จะรองรับผู้ป่วยในทุกระดับสีเกือบวิกฤต ขณะเดียวกันแนวโน้มกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง อาการหนักขึ้น กลายเปลี่ยนเป็นสีแดงเพิ่มขึ้นด้วยจึงส่งผลให้อัตราครองเตียงสีแดงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมถึงเตียงในผู้ป่วยสีเขียว
นอกจากนี้โรงพยาบาลเอกชน ประมาณ100-200 แห่งในพื้นที่กทม. แม้จะมีห้องไอซียูรองรับได้ 1-2 เตียง แต่ปัญหาสำคัญ คือ ขาดบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแล เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้ก็มาจากโรงพบาบาลรัฐที่ทำงานนอกเวลา ขณะเดียวกันบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.รัฐทุกแห่งตอนนี้ ได้ทำงานเกินกำลังในการดูแลผู้ป่วยทุกคนอยู่แล้ว
การแก้ปัญหาขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข และทุกฝ่ายพยายามแก้ปัญหาทุกวิถีทาง ทั้งการแบ่งโซนดูแลผู้ป่วยแต่ละพื้นที่ โดยหลักตอนนี้ คือ ทำอย่างไรให้ลดจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรงลงให้ได้มากที่สุดล่าสุด เมื่อ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกับกทม. ออกแนวทาง community isolation คือ การแยกตัวออกจากชุมชนทันที และทำบับเบิลแอนด์ซีลไว้ ขณะเดียวกันตอนนี้มีการติดเชื้อในผู้สูงอายุมากขึ้น เบื้องต้นได้มีการหารือกทม. จัดทำแนวทาง Nursing home isolation กรณีหากผู้ดูแลและผู้สูงอายุติดเชื้อแต่อาการไม่มาก ให้ช่วยดูแลผู้สูงอายุระหว่างรอเตียง ขณะเดียวกันจะมีแพทย์ในพื้นที่คอยให้คำปรึกษา เพื่อผ่อนคลายระหว่างการจัดสรรเตียง
ขณะนี้ผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80-90 มีโรคร่วม เบาหวาน ความดัน อ้วน และตอนนี้พบผู้สูงอายุติดเตียงมากขึ้น ได้หารือกับกทม. เร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงมากขึ่น เพื่อลดป่วยและการเสียชีวิต
พร้อมกันนี้ ยืนยัน การพบผู้เสียชีวิตที่มากขึ้นไม่ได้มาจากระบบการรักษาที่ด้อยประสิทธิภาพ แต่เป็นตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นและสะสมมาก ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ ยังเป็นยาหลักและมีเพียงพอ ซึ่งขณะนี้ปรับให้ยาเร็วขึ้น เช่น ผู้ติดเชื้อมีอาการเล็กน้อยแต่มีโรคร่วมก็ให่ยาทันที ขณะเดียวกันได้เพิ่มแนวทาง การให้นำยาฟ้าทะลายโจรมารักษาผู้ป่วยโควิดที่ไม่มีอาการ ย้ำขอประชาชนล็อกดาวน์ตัวเอง และเคร่งครัดมาตรการทางสังคม แม้การรับประทานอาหารกับคนรู้จักหรือคนในครอบครัวก็ควรเว้นระยะห่าง เพราะขณะนี้เราไม่รู้เลยว่าคนรอบข้างหรือคนที่เราไปเจอมีใครติดเชื้อบ้าง
ด้านนพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า ขณะนี้เตียงผู้ป่วยไอซียูโควิด-19 ในรพ.ราชวิถีเต็มทุกเตียง ทั้งไอซียูเต็มรูปแบบ และไอซียูส่วนต่อขยายที่เพิ่มมา สำหรับผู้ป่วยสีแดง อัตราครองเตียงในห้องไอซียูโควิดเฉลี่ยอยู่ประมาณ10-20วัน หากตรวจเชื้อซ้ำแล้วพบว่าไม่ติดเชื้อก็จะถูกย้ายไปยังห้องไอซียูทั่วไป โดยตอนนี้ต้องสำรองเตียงไว้สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะฉุกเฉิน ต้องผ่าตัด หรือช่วยเหลือที่เร่งด่วนด้วย
ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์เตียงในกรุงเทพ และปริมณฑลวันที่ 21 มิถุนายน จากกรมการแพทย์ พบว่า ห้องสำหรับผู้ป่วยสีแดง อย่างห้องไอซียูความดันลบ ผู้ป่วยครองเตียง 268 เตียง ว่าง 46 เตียง , หอผู้ป่วยวิกฤตที่ดัดแปลงเป็นห้องความดันลบ ครองเตียง 689 เตียง ว่าง 68 เตียง , ห้องไอซียูรวม ครองเตียง 267 เตียง ว่าง 34 เตียง , ห้องสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง ห้องแยก ครองเตียง 3,529 เตียง ว่าง 527 เตียง , ห้องสามัญ ครอง 6,582 ว่าง 1,458 เตียง และห้องสำหรับผู้ป่วยสีเขียว hospital ครองเตียง 10,263 ว่าง 3,267 เตียง , เตียงสนาม ครองเตียง ว่าง 803 เตียง
วางแผนทางการเงินเมื่อป่วยโควิด สนใจทำประวัติโควิด-19 กับ Tadoo คลิกที่นี่
- โควิดไทย 23/6/64 พบผู้ป่วยเพิ่ม 3,174 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 51 ราย
- ‘ประยุทธ์’ สั่ง ‘อนุทิน’ เร่ง ฉีดวัคซีนโควิด ห้าแสนโดสต่อวัน
- สรยุทธ เร่ง องค์การเภสัช หลัง โมเดอร์นา ไม่คืบ