จุฬาฯ เผยหลัง ฉีดวัคซีน ‘ซิโนแวค’ เข็ม 2 ยับยั้งเชื้อกว่า 50%
ฉีดวัคซีน ‘ซิโนแวค’ เข็ม 2 ร้อยละ 95 มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ขณะที่หลังฉีดเข็ม 2 นาน 2 สัปดาห์ ยับยั้งเชื้อได้สูงกว่า 50%
ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐ) ทำการทดสอบเลือดผู้ได้รับการ ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ต่อการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องทดลอง และทำการเผยแพร่วานนี้ (17 มิ.ย.64)
พบ ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนซิโนแวค ที่ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ มีผลช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสที่ SARS-CoV-2 ได้
– ผลทดสอบ ระบุว่า ร้อยละ 95 ของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส จากการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัส (วิธี ELISA) จากจำนวนทั้งหมด 186 คน จึงมั่นใจได้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้นกัน
– ขณะที่การทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2 สัปดาห์ จำนวน 171 คน พบว่ามากกว่าร้อยละ 70 มีภูมิในระดับที่ยับยั้งเชื้อได้สูงกว่า 50%
ทั้งนี้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นช้า มีสาเหตุจากการตอบสนองของแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยเกิดได้จากหลายปัจจัย อาทิ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระบบภูมิคุ้มกัน
- เจ้าหน้าที่แพทย์ ติดโควิด แม้ ฉีดซิโนแวค ครบสองโดส
- เปรียบเทียบ อาการข้างเคียงวัคซีน ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า
- เฮ! ซิโนแวคถึงไทย แล้วอีกล้านโดส ขณะที่แอสตราฯเลื่อน