ข่าวเศรษฐกิจ

คลัง เผย มาตรการช่วยเหลือ จาก โควิด-19 ระลอกใหม่

กระทรวงการคลัง เปิดเผยถึง มาตรการช่วยเหลือ เนื่องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่ 2 มาตรการ : สินเชื่อ และพักหนี้

ภายในวันนี้ (5 พ.ค. 2564) กระทรวงการคลัง ได้เปิดเผย มาตรการช่วยเหลือ เนื่องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่ โดยมี 2 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ มาตรการสินเชื่อ และมาตรการพักหนี้

Advertisements

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2564 พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) หลายจุดมีการแพร่ระบาดทั้งในแหล่งที่พักอาศัยและในชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการแพร่กระจายเป็นวงกว้างและแม้ว่าประเทศไทยจะมีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนแล้วแต่สถานการณ์ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและยังอยู่ในจุดที่ต้องเฝ้าระวัง

ดังนั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการและประชาชนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
    • ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำผู้ประกอบอาชีพอิสระผู้ประกอบการรายย่อยรวมไปถึงเกษตรกรรายย่อย
    • โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายละ 10,000 บาท
    • ด้วยหลักเกณฑ์ที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อปกติดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปีปลอดชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก
  2. มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายระยะเวลาพักชำระหนี้โดยการพักชำระเงินต้นให้แก่ลูกหนี้ตามความสมัครใจออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
    • เพื่อลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้หรือนำเงินที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง
    • โดยจะต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินไปและพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อยเพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสำคัญ

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ เช่น Non-bank เป็นต้น เร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นหลัก ทั้งนี้ อาจให้ความสำคัญกับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปน้อยในลักษณะเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่อไป

 

แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – สถานีข่าวกระทรวงการคลัง

Advertisements

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button