Lou Ottens ผู้คิดค้น ตลับเทป เสียชีวิตแล้วในวัย 94 ปี

Lou Ottens วิศวกรชาวดัชต์ ผู้คิดค้น ตลับเทป หรือเทปคาสเซ็ต (Cassette Tape) และให้ความร่วมมือในการสร้าง CD ขึ้นมานั้นได้เสียชีวิตแล้ว ในอายุ 94 ปี
อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่า Lou Ottens วิศวกรชาวดัชต์ ผู้คิดค้น ตลับเทป หรือเทปคาสเซ็ต (Cassette Tape) ปละหนึ่งในผู้ร่วมมือในการพัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูลแบบ CD นั้นได้เสียชีวิตแล้ว โดยเขาได้เสียชีวิตลงที่บ้านพักของเขาที่หมู่บ้าน Duizel ณ จังหวัดนอร์ทบราแบนต์ (Noord-Brabant)
Lou Ottens เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 1926 โดยในช่วงวัยเด็กของเขานั้น ต้องใช้ชีวิตอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และภายใต้การปกครองของนาซีเยอรมัน ที่ได้ทำการปกครองหลายประเทศรวมถึงประเทศของเขาอย่างเนเธอร์แลนด์ด้วยเช่นกัน ซึ่งเขาก็ได้ฉายแววความอัจฉริยะออกมาตั้งแต่ยังหนึ่ม ผ่านการสร้างวิทยุที่ทำให้เข้าสามารถรับสัญญาวิทยุ Radio Oranje (BBC ภาคภาษาดัชต์ที่ทำการเผยแพร่ในพื้นที่) โดยตัววิทยุนี้มีเสาสัญญาณบังคับทิศทางที่เอาไว้หลบเลี่ยงการรบกวนสัญญาณของนาซี (เขาเรียกมันว่า Germanenfilter)
ภายหลังจากที่สงครามได้จบลงแล้ว Ottens ก็ได้ทำการเรียนต่อในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ภาหลังจากที่เรียนจบแล้ว เขาก็ได้ทำงานให้กับบริษัท Philip ในปี 1952 และเมื่อเข้าปี 1960 เขาก้ได้รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ และในเวลาไม่ถึงปี แผนกของเขาก็ได้ทำการผลิต reel-to-reel tape recorder แบบพกพาเครื่องแรกของบริษัทขึ้นมาได้ (EL 3585)
แต่มันเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความหนักใจให้แก่ Ottens ซึ่งเขาได้กล่าวถึงมันว่า “ผมรู้สึกรำคาญกับความเงอะงะ และความไม่เป็นต่อผู้ใช้งานของระบบ reel-to-reel เท่านั้นเอง”
ซึ่งมันก็ถือว่าเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้เขาและทีมงานเริ่มทำงานพัฒนาในระบบบันทึกข้อมูลแบบเทปรูปแบบใหม่ และเขาได้ทำการกำหนดว่ารูปแบบที่ว่านี้ควรจะต้องมีขนาดที่เล็กมากพอที่จะสามารถพกพาผ่านกระเป๋าเสื้อแจ็คเกตได้ โดยเขาได้ออกแบบรูปลักษณ์ที่ต้องการด้วยไม้แกะสลัก
และมาในปี 1962 ตลับเทป หรือเทปคาสเซ็ต (Cassette Tape) ได้ถูกคิดค้นขึ้นมา และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในปี 1963 โดยมีการแสดงเปิดตัวที่งานเทศกาลผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เมืองเบอร์ลิน ซึ่งมันมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Compact Cassette ที่ก็ได้รับสโลแกนโฆษณาว่า เล็กยิ่งกว่าซองบุหรี่เสียอีก”
ตลัปเทปนั้นถือว่าได้ทำการปฏิวัติการแลกเปลี่ยน, การพกพา และการบันทึกเสียงเพลง เช่นเดียวกับการเล่นเสียงเพลง ที่แม้ว่าตัว Ottens นั้นจะชอบในรูปแบบแผ่นเสียงมากกว่าก็ตาม (Vinyl)ไม่มีใครทราบจำนวนที่แน่ชัดของปริมาณตลัปเทปที่ได้มีการผลิต หรือขายออกไป BBC ได้ประมาณการณ์ว่าน่าจะอยู่มากกว่า 100 พันล้านตลัป แต่ที่แน่นอนว่ามันมากมายอย่างแน่นอน ในวันครบรอบ 50 ปีของมันนั้น Ottens ได้กล่าวถึงมันผ่านนิตยสาร Time ว่า เทคโนโลยีนี้ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ตั้งแต่วันแรกที่ได้พัฒนาขึ้นมา
Olga Coolen ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ Philip ได้กล่าวถึง Ottens ผ่านทาง NPR ไว้ว่า “Lou นั้นเป็นคนที่มหัศจรรย์ ผู้หลงรักในเทคโนโลยี แม้กระทั้งสิ้งประดิษฐ์ของเขานั้นยังมีจุดเริ่มต้นที่เรียบง่ายเลย” และเธอยังได้กล่าวถึงตัวไม้แกะสลักต้นแบบของตลัปเทปว่า มันได้หายไป ขณะที่ Lou ได้ใช้งานมันเป็นตัวรอง Jack เพื่อเปลี่ยนยางที่แบนไป
โดย Lou นั้นก็ยังได้มีส่วนร่วมในการเกิดขึ้นของ CD อีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างทาง Philip กับ Sony ในช่วงปี 1980 ที่แผ่น CD แบบมาตรฐานขนาด 12 cm. ของ Philips-Sony ได้ถูกสร้างขึ้น และในช่วงปี 1982/83 นั้นมันก็ได้ปล่อยตัวไปทั่วโลก และประสบความสำเร็จเช่นเดียวถึงมากกว่าที่ตลัปเทปได้ทำเอาไว้
ซึ่งความเสียใจในระหว่างการทำงานเพียงอย่างเดียวของ Lou นั้น ก็คือการที่ Sony ได้ทำการผลิตเครื่องเล่น Walkman เป็นเจ้าแรก โดยเขาได้พูดถึงความเสียดายในการพัฒนาสิ่งนี้ว่า “มันยังคงเจ็บเสมอที่เราไม่สามารถผลิตมันออกมาได้”
เมื่อพูดถึงความสำเร็จของเขาแล้วนั้น Ottens ได้กล่าวว่า “พวกเรานั้นเป็นเพียงแค่เด็กเล็ก ๆ ที่เล่นกันอย่างสนุกสนาน พวกเราไม่ได้รู้สึกว่า เรากำลังทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ มันเป็นเพียงแค่กีฬาประเภทหนึ่งเท่านั้น”
ตามที่กล่าวไป Lou Ottens ได้เสียชีวิตลงที่บ้านพักของเขาที่หมู่บ้าน Duizel ณ จังหวัดนอร์ทบราแบนต์ (Noord-Brabant) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2564 โดยสาเหตุการเสียชีวิตนั้นยังไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการในเวลานี้
แหล่งที่มาของข่าว : PC Gamer
สามารถติดตามข่าวเทคโนโลยีเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเทคโนโลยี
- เปิดตัว Oppo Find X3 Pro เรือธงรุ่นใหม่ Snap888 กล้อง 50MP สองตัว
- Denuvo ร่วมมือกับ PS5 ป้องกันการโกงบนแพลตฟอร์ม
