ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ ป้องกัน โควิด-19 ได้ เป็นข่าวปลอม
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมยืนยันว่าเป็น ข่าวปลอม กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ สามารถป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19 ได้
ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ สามารถป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19 ได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าเมื่อฉีดวัคซีนปอดอักเสบ จะช่วยป้องกันการติดโรคโควิด-19 ได้นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า เป็นข้อมูลเท็จ เพราะการใช้วัคซีนป้องกันโรคต้องเป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นจำเพาะกับเชื้อนั้น ๆ โดยวัคซีนปอดอักเสบจะมีผลป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากเชื้อที่จำเพาะต่อวัคซีนนั้น ไม่สามารถป้องกันปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อชนิดอื่นได้ และไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนปอดอักเสบเพื่อหวังผลในการป้องกันการติดโรคโควิด-19
ซึ่งโรคโควิด-19 สามารถสร้างความเสียหายให้กับทางเดินหายใจ ทำให้ปอดอักเสบ และรุนแรงที่สุดคือทำให้เสียชีวิตได้ และวัคซีนเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค แต่การป้องกันการติดโรคโควิด-19 ได้นั้น จะต้องเป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นจำเพาะกับโรคโควิด-19 เท่านั้น
โดยวัคซีนปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส จะมีผลป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันปอดอักเสบจากโรคโควิด-19 ได้ จึงขอแนะนำว่า สิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ในขณะนี้คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ รับประทานอาหารสุกสะอาด เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลดการแพร่กระจาย และลดความเสี่ยงของการติดโรคโควิด-19 ได้
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร 1556
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ ไม่สามารถป้องกันการติดโรคโควิด-19 ซึ่งวัคซีนปอดอักเสบจะมีผลป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากเชื้อที่จำเพาะต่อวัคซีนนั้น ไม่สามารถป้องกันปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อชนิดอื่นได้
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
- กรุงไทย ส่ง SMS ให้ลงทะเบียนรับเงิน ‘เราชนะ’ เพิ่ม 5,000 บาท เป็นข่าวปลอม
- คลิปเสียงหมอศิริราช แนะให้กิน ยาเขียว รักษาโควิด-19 เป็นข่าวปลอม
- ธ.ก.ส. เปิดกู้สินเชื่อ คนตกงาน ฟรีดอกเบี้ย ไม่ต้องใช้คนค้ำ เป็นข่าวปลอม