ข่าวข่าวต่างประเทศ

อองซานซูจี คือใคร ประวัติ อองซานซูจี หญิงแกร่งแห่งเมียนมา

หลังจากที่ล่าสุดได้เกิดการรัฐประหาร ภายในประเทศเมียนมา หรือพม่า ขึ้นนั้น ก็ได้มีการไล่จับกุมตัวบุคคลสำคัญทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นคณะรัฐมนตรี, มุขมนตรีในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ของประเทศ และนักการเมืองของพรรคฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะคนที่ถือว่าสำคัญที่สุดอย่างนาง อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi)

โดยทาง The Thaiger นั้นจะมานำเสนอประวัติของ อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) นักการเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดังของประเทศเมียนมากันอย่างคร่าว ๆ มาให้ได้รับทราบกัน

Advertisements

อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ถือว่าเป็นนักการเมือง และหนึ่งในบรรดานักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่คอยผลักดันการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเผด็จการทหารในปี 1988 (พ.ศ. 2531) ซึ่งเธอได้ถูกกักบริเวณในบ้านเป็นระยะเวลาด้วยกันทั้งหมด 15 ปีด้วยกัน ตั้งแต่เริ่มแรกของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอก็ว่าได้

โดยเธอนั้นได้มีส่วนร่วมในการลุกฮือประท้วง 8888 (8888 Uprising / 8/8/1988 Protests) ซึ่งในเดือนต่อมาก็ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น และนำมาสู่การเริ่มต้นในการกักบริเวณ ซึ่งก็ไม่ได้หยุดการแสดงออกเธอแม้แต่น้อย จนทำให้เธอนั้นก็ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งการกักบริเวณตลอด 15 ปีนั้น เป็นการตามจับกลับมาอย่างต่อเนื่องของคณะรัฐประหาร ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ความหลายแรงทางการเมืองหลายครั้ง มีทั้งการปล่อยตัว และตามจับกลับมา แล้วก็ขยายเวลาออกไป จนได้รับการปล่อยตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 พ.ย. 2553 โดยล่าสุดนี้เธอก็ได้ถูกกุมตัวอีกครั้งหนึ่ง

ด้วยผลงานการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสงบ ที่ได้รับแรงบรรดาลใจมาจาก มหาตมา คานธี และหลักการศาสนาพุทธนั้น ทำให้เธอได้รับกรายอมรับจากองค์การต่างประเทศต่าง ๆ และยังได้รับรางวัลโนเบิลสาขาสันติภาพในปี 1991 (พ.ศ. 2534) อีกด้วย

ในที่สุดการเคลื่อนไหวของเธอก็ได้สัมฤทธิผล เมื่อพรรค NLD ที่เธอมีส่วนในการก่อตั้งนั้น ได้ทำการชนะในการเลือกตั้งในปี 2015 (พ.ศ. 2558) โดยเธอนั้นได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) และรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเมียนมา

Advertisements

แต่ในช่วงที่ผ่านมานั้น การทำงานของเธอได้ถูกวิพากษ์วิจารย์เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยแนวทางในการจัดการกับปัญหาชาติพันธุ์ซึ่งมีความหลากหลายในประเทศเมียนมา อย่างในกรณีของชาวโรฮิงญา ที่ได้มีการปฏิเสธในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทั้งที่ได้มีการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง และความเป็นประชาชนในประเทศ โดยการออกบัตรในการอยู่อาศัยในประเทศ แทนที่จะเป็นบัตรประชาชนของประเทศ

นอกจากนี้แล้วก็ยังรวมไปถึงการโจมตีสื่อที่มีการนำเสนอ เผยแพร่ข่าวที่เกี่ยวข้องกัยเหตุการณ์ดังกล่าว และการไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหาเศรษฐกิจ ได้อย่างแท้จริง

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าเธอได้ถูกจับกุมอีกครั้งนึ่งในวันนี้ โดยทางกองทัพ การดำเนินการนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ทางกองทัพได้ทำการร้องเรียนถึงการเลือกตั้งดังกล่าวว่ามีความไม่โปร่งใส่ ที่ซึ่งพรรค NLD นั้นได้คว้าที่นั่งไปถึง 138 ที่นั่ง โดยพรรคอื่น ๆ นั้นได้ที่นั่งเพียงแค่หลักเดียวเท่านั้น ส่วนที่นั่งอีก 56 ที่นั้นเป็นสำหรับกองทัพกำหนดผู้แทนเข้ามา

โดยก็ทำให้ประเทศเมียนมานั้นกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบเผด็จการทหารอีกครั้งหนึ่ง และทางคณะ รปห. ได้ออกมากล่าวว่าการดำเนินการในครั้งนี้จะทำการใช้เวลา 1 ปีด้วยกัน เพื่อทำการจัดการปัญหาต่าง ๆ

ทั้งนี้แล้วนอกจากข่าวการจับกุม ก็ยังไม่มีการข่าวเพิ่มเติมว่าบรรดาผู้ที่ถูกกุมตัว รวมถึงนางอองซานซูจีนั้น ไปอยู่ที่ไหน และเป็นอย่างไรกันบ้าง ซึ่งเราก็ทำได้แค่รอดูความคืบหน้าของสถานการณ์นี้กันต่อไป

 

แหล่งที่มาของข้อมูล : Wikipedia

 

สามารถติตดามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวต่างประเทศ

 

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button