นายก สั่งกำชับ! จัดการ ข่าวปลอม พร้อมดำเนินการตามกฎหมายเข้มข้น
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี สั่งเข้มตรวจสอบ ข่าวปลอม / ข่าวเท็จสร้างความเสียหาย พร้อมดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มข้นเข้มข้น
นายก แสดงออกถึงความกังวลจากการมีการเผยแพร่ของ ข่าวปลอม / ข่าวที่ไม่มีมูลความจริง มากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 จึงได้มีการสั่งการให้มีการเฝ้าระวังจับตาดู และหากพบว่ามีความผิด หรือมีหลักฐานพร้อม ก็ให้มีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มข้น
วันนี้ 11 มกราคม 2564 เนื่องจากขณะนี้ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 มีกระบวนการปล่อยข่าวที่ไม่มีข้อเท็จจริง อ้างอิงไม่ได้ รวมทั้งการโพสต์ข้อความจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ตามช่องทางสื่อต่างๆ เช่น สื่อออนไลน์
ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใย จึงได้มอบหมายให้ นายบรรสาน บุนนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการต่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ร่วมระดมความคิดเห็น บูรณาการการทำงานร่วมกัน และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่า การเผยแพร่ข้อความเท็จ หรือบิดเบือน เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และที่ผ่านมามีการดำเนินการสืบสวน สอบสวน และดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดบังคับใช้กฎหมาย ดำเนินคดี หากพบความผิด มีหลักฐานที่ชัดเจน
พร้อมทั้ง ย้ำกับประชาชนอย่ากด Like หรือแชร์ หรือบิดเบือนข่าว สร้างข่าวเท็จ เพราะจะสร้างความเสียหายต่อส่วนรวม รวมทั้ง มีความผิดตามกฎหมาย ที่จะต้องดำเนินคดี ลงโทษผู้กระทำผิด ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่คอยติดตาม ตรวจสอบ การเผยแพร่ข้อความที่เผยแพร่ในสื่อโซเชียลมีเดียตลอดเวลา ดังนั้น อย่าประมาทว่าเป็นการกระทำที่พิสูจน์ตัวตนไม่ได้
แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย
- กสทช. เผย ไม่คิดค่าเน็ต ใช้ หมอชนะ ช่วยสกัดโควิด-19
- วิโรจน์ แซะ หลังเอกสาร กศน. อมก๋อย ว่อน ห้าม ครู-จนท. โพสต์ขอรับบริจาค
- ปาล์ม ปวีร์ วง MEAN ขอแฟนสาวแต่งงานผ่านไอจี
- พยากรณ์อากาศ 12 ม.ค. 64 อุณหภูมิลดลงทั่วประเทศ กทม.ต่ำสุด 16 องศา
#ข่าวการเมือง #ข่าวรัฐบาล #ข่าวปลอม #นายก #นายกรัฐมนตรี #สื่อออนไลน์ #สื่อโซเซียล #112 #รัฐบาลไทย #โควิด-19 #โควิด-19 ประเทศไทย #Covid-19