การเงิน

ธ.ก.ส. เตือน! ระวัง แอพปลอม หลอกกู้ สินเชื่อฉุกเฉิน

ธ.ก.ส. เตือนพี่น้องเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ระมัดระวัง แอพปลอม แอบอ้างใช้โลโก้ ธ.ก.ส.หลอกให้ประชาชนเข้ามาขอ สินเชื่อฉุกเฉิน ย้ำ! อย่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าวมาใช้งาน เพราะอาจถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลไปก่อให้เกิดความเสียหายได้

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส. ) เปิดเผยว่า ตามที่มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีได้จัดทำ แอพปลอม โดยใช้ชื่อแอปพลิเคชันว่า “ลงทะเบียนกู้เงิน ธกส. สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท” โดยแอบอ้างใช้ตราสัญลักษณ์ของธนาคารและมีข้อความว่า “ สินเชื่อฉุกเฉิน 50,000 บาท” เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าไปดาวน์โหลดใช้ผ่านทาง Play Store ในระบบปฏิบัติการ Android นั้น

Advertisements

ขอเรียนแจ้งว่า ธ.ก.ส. มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันดังกล่าวแต่อย่างใด จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปโปรดอย่าหลงเชื่อและดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าวมาใช้งาน เนื่องจากอาจถูกหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และถูกนำไปใช้จนก่อให้เกิดความเสียหายได้

โดยหากท่านได้ดาวน์โหลดแอปพิเคชันดังกล่าวไปแล้ว ให้รีบถอนการติดตั้งโดยเร็ว อนึ่ง ขอให้พี่น้องเกษตรกรและประชาชนโปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้งานด้านธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟนและระบบดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบันเกิดกรณีผู้ไม่หวังดีใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบ่อยครั้งมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายได้ หากพบเห็นการกระทำที่ไม่น่าไว้วางใจหรือแอบอ้างใช้ตราสัญลักษณ์ของ ธ.ก.ส. สามารถแจ้งได้ที่ Call Center 02 555 0555

ทั้งนี้ โครงการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว หากท่านสนใจผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคารสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศหรือค้นหาได้ที่ เว็บไซต์ www.baac.or.th

 

Advertisements

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

 


#ข่าวการเงิน #ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวประชาสัมพันธ์ #แอพปลอม #แอพพลิเคชั่นปลอม #ธ.ก.ส. #ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร #สินเชื่อ #สินเชื่อฉุกเฉิน #รัฐบาลไทย

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button