ข่าวเศรษฐกิจ

นายก ยันไทยพร้อมร่วมมือ OECD เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก หลัง โควิด-19

นายก ได้ออกมายืนยันว่าประเทศไทยนั้น มีความพร้อมในการให้ความร่วมมือใน OECD เพื่อช่วยเร่งในการฟื้นฟู และยกระดับเศรษฐกิจโลก ภายหลังวิกฤต โควิด-19

พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี ได้ออกมากล่าวถ้อยแถลงในโอกาสฉลองครบ 60 ปีในการลงนามอนุสัญญา OECD ว่า ประเทศไทยนั้นมีความพร้อมในการให้ความร่วมมือตามที่ได้มีการลงนามไว้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มีความช่วยเหลือในการฟื้นฟู และยกระดับให้ประเทศที่เข้าร่วมนั้น มีความพร้อมและเอาตัวรอดภายใต้เศรษฐกิจโลก ภายหลังวิกฤต โควิด-19

Advertisements

วันนี้ (วันที่ 14 ธันวาคม 2563) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงผ่านวีดิทัศน์ ในพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และเป็นเวทีเจรจาเพื่อพัฒนาและกลั่นกรองนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก รวมทั้งประสานงานและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการจัดการแก้ไขปัญหาตามบริบทแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเป็นการจัดพิธีผ่านเว็ปไซต์ของ OECD สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรียินดี และชื่นชม OECD ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกมีความก้าวหน้าภายใต้กฎระเบียบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นสากล ซึ่งไทยยินดีที่ได้ร่วมมือกับ OECD ตลอดมา โดยเฉพาะโครงการ Country Programme ที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย พร้อมจะต่อยอดโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมถึงพลเมืองไทยรุ่นต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีปรารถนาที่จะเห็นความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนระหว่าง OECD กับไทยและภูมิภาคให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม เป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกฝ่าย

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า ในปี 2563 ถือเป็นปีที่ทุกประเทศต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยนำเสนอ 3 ประเด็นสำคัญที่ควรผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้

  1. ประชากรโลกต้องสามารถเข้าถึงยาและวัคซีนต้านโควิด-19 ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงโดยเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์
  2. การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ Micro SMEs แรงงานภาคบริการและสตรี เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการคนละครึ่ง และในระดับภูมิภาค ไทยกำลังพัฒนาข้อริเริ่ม ASEAN SMEs Recovery Facility
  3. การบริหารจัดการหนี้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวอย่างทั่วถึง

 

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

 


#ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวรัฐบาล #นายก #นายกรัฐมนตรี #โควิด-19 #OECD #Covid-19 #เศรษฐกิจ

Advertisements

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button