NARIT เผยภาพ ‘ฝนดาวตกเจมินิดส์’ คืน 13 ถึงเช้า 14 ธ.ค.
NARIT เผยภาพ ‘ฝนดาวตกเจมินิดส์’ ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 13 ต่อเนื่องมารุ่งเช้า 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยถือเป็นฝนดาวตกครั้งสุดท้ายในปี 63
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยภาพ ฝนดาวตกเจมินิดส์ ที่ถ่ายได้ที่เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยลาน ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เมื่อคืนวันที่ 13 ต่อเนื่องมารุ่งเช้า 14 ธ.ค. ผ่าน Facebook พร้อมทั้งระบุว่า นี่คือฝนดาวตก ครั้งสุดท้ายประจำปี 2563 และมีอัตราการตกเฉลี่ยสูงถึง 150 ดวง/ชั่วโมง
โดยข้อความของทาง NARIT ระบุว่า
“สดร. เผยภาพ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืน 13 ถึงเช้า 14 ธันวาคม 2563
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยลาน ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ คืนวันที่ 13 ถึงรุ่งเช้า 14 ธันวาคม 2563 บันทึกในช่วงเวลาประมาณ 21:00 – 02:30 น. นับเป็นฝนดาวตกส่งท้ายปีนี้ อัตราการตกเฉลี่ยสูงสุดเป็นไปตามคาด มากถึงประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง สามารถสังเกตเห็นดาวตกที่เป็นลูกไฟ (Fireball) และดาวตกชนิดระเบิด(Bolide) เป็นแนวยาวพาดผ่านท้องฟ้า
“ฝนดาวตกเจมินิดส์” เกิดจากการที่โลกโคจรเข้าตัดกับสายธารเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ที่ทิ้งไว้ขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่ (Fireball) มีศูนย์กลางการกระจายบริเวณกลุ่มดาวคนคู่ เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 4 – 17 ธันวาคม ของทุกปี และจะมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงวันที่ 13 – 14 ธันวาคม เฉลี่ยประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง”
สดร. เผยภาพ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืน 13 ถึงเช้า 14 ธันวาคม 2563
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)…
โพสต์โดย NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2020
- NARIT เผยภาพ ‘จันทรุปราคาเงามัว’ ครั้งสุดท้ายของปี 63
- ฉางเอ๋อ-5 ลงจอดบนดวงจันทร์ ก่อนเร่งเก็บหินและดินกลับโลก
- NASA เป็นงง?? วัตถุต้องสงสัย กำลังพุ่งเข้าใกล้หา โลก
- 14 ธ.ค. 63 PM 2.5 กรุงเทพ พุ่งสูงติดอันดับ 6 ของโลก มลพิษทางอากาศกระทบสุขภาพ