ร.ฟ.ท. ได้ทำการลงนามในการสร้างทาง รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เพิ่มอีก 5 สัญญา มูลค่าโดยรวมทั้งหมด 4 หมื่นล้าน โดยเตรียมเซ็นสัญญาเพิ่มอีก 7 ฉบับ คาดว่าพร้อมให้บริการในช่วงปี 2568
ในวันที่ 26 พ.ย. 63 ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานในการลงนามสัญญาก่อสร้างโครงการความมือ ไทย-จีน ในการพัฒนาระบบ รถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วง กรุงเทพมหานคร – หนองคาย จำนวน 5 สัญญา ระหว่าง ร.ฟ.ท. และบริษัทคู่สัญญา
โดยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่า การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั้งหมด 5 สัญญานี้นั้น เป็นโครงการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องดจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญ ในการเชื่อมประเทศไทยสู่โลก โดยเป็นเส้นทางผ่านตั้งแต่ประเทศไทย สปป.ลาว และประเทศจีน
นอกจากนี้เส้นทางดังกล่าวยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จะทำการเชื่อมภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้เข้าถึงยุโรปผ่านเส้นทางรถไฟ
โดยการลงนามสัญญาก่อสร้างทั้ง 5 สัญญานี้ประกอบด้วย
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย) ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
ซึ่งมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 101.15 กม. มีวงเงินลงทุนรวม 40,275 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้จะเสร็จสิ้นทั้งหมดและพร้อมเปิดให้บริการในช่วงปี 2568
ทั้งนี้แล้วในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) มีงานโยธาด้วยกันทั้งหมด 14 สัญญา โดยมีสำเร็จไปแล้ว 1 สัญญา (ช่วงที่ 1-1) และกำลังดำเนินอีก 1 สัญญา (ช่วง 2-1) และที่ได้ลงนามไปในวันนี้ 5 สัญญา รวมไปถึงอีก 7 สัญญาที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้เสร็จในปี 2564
แหล่งที่มาข่าว : กรุงเทพธุรกิจ
- ความคืบหน้า คนละครึ่ง เฟส 2 เปิดมกรานี้ ต้องใช้เงินเฟส 1 ให้หมดในสิ้นปี
- กมธ. เศรษฐกิจ เตรียมเรียก CP แจงกรณีควบรวม Tesco Lotus
- CD Projekt ให้คำมั่นกับ นักลงทุน Cyberpunk 2077 ออก 10 ธันวานี้ ชัวร์
- Steam Autumn Sale ได้เริ่มขึ้นแล้ว ลดสนั่น ตั้งแต่วันนี้ – 1 ธันวาคม