นักวิจัยพบ กะโหลกมนุษย์ อายุกว่า 200 ล้านปี
นักวิจัยออสเตรเลียค้นพบ กะโหลกมนุษย์ อายุกว่า 200 ล้านปี ในแอฟริกาใต้ ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการทำความเข้าใจวิวัฒนาการมนุษย์
นักวิจัยชาวออสเตรเลีย จากมหาวิทยาลัย La Trobe ได้ค้นพบ กะโหลกมนุษย์ ที่มีอายุกว่า 200 ล้านปี ในแอฟริกาใต้ ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์อย่างมาก
โดยกะโหลกดังกล่าวเป็นของเพศชาย สปีชีย์พารันโทรพัส โรบัสตัส ซึ่งเป็นสปีชีย์ที่อาศัยอยู่ช่วงเดียวกับโฮโม อิเล็กตัส ที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน (ในขณะที่พารันโทรพัส โรบัสตัส สูญพันธ์ไปก่อน)
“ฟอสซิลส่วนใหญ่คือชิ้นส่วนเล็ก ๆ อย่างฟัน แต่การค้นพบอะไรแบบนี้มันเป็นสิ่งที่หายากมาก และเราโชคดีจริง ๆ ” ดร.แองเจลีน ลีซ กล่าวกับ BBC
กลุ่มนักวิจัยเหล่านี้พบชิ้นส่วนกะโหลกเมื่อปี 2018 ทางตอนเหนือของกรุงโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่ค้นพบกะโหลกโฮโม อิเล็กตัส เมื่อปี 2015 มากนัก
ทั้งนี้ พารันโทรพัส โรบัสตัส จะมีกะโหลกที่เล็ก และฟันที่ใหญ่ นักวิจัยคาดว่าพวกเขากินหัวผักกาดและเปลือกไม้เป็นอาหาร และสิ่งที่ทำให้สปีชีย์นี้สูญพันธ์ก็คือแหล่งอาหารที่ลดลง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
- นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบดาวเคราะห์ คล้าย Mustafar ใน Star Wars
- คณะสัตวแพทย์ มหิดล ร่วมค้นพบแมลงวันดูดเลือดชนิดใหม่ของโลก
- นักวิจัยเผย ครีบปลา มีประสาทสัมผัสคล้ายนิ้วมือมนุษย์