11 สิงหาคม วันเกิดพลเอกประวิตร ประวัติประวิตร วงษ์สุวรรณ
11 สิงหาคม วันเกิดพลเอกประวิตร ประวัติพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากนายทหารสู่นักการเมือง หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
วันที่ 11 ส.ค. 2563 เป็นวันเกิดครบรอบ 75 ปี ของบิ๊กป้อม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ โดยในช่วงเช้า ได้มีทั้งตำรวจ นายทหารรับสูง และนักการเมือง มาอวยพรวันเกิดที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เช่น ล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ประวัติพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 อาชีพทหารและนักการเมืองชาวไทย นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมปี 2551 ถึง 2554 ผู้บัญชาการทหารบกระหว่างปี 2547 ถึง 2548 หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ชื่อว่าเป็น “พี่ใหญ่” ของกลุ่มแยกบูรพาพยัคฆ์
พลเอกประวิตร มีน้องชาย 4 คน คือ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ, พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมทีโอที และพันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ
พลเอกประวิตรสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลปี พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 พ.ศ. 2508 และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 พ.ศ. 2556
พลเอกประวิตรที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 สังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือ “ทหารเสือราชินี” ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับนายทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบกสองนาย คือ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า “ป้อมทะลุเป้า” สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่าง ๆ ที่ถูกครหาในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นประธานคณะกรรมการอีกกว่า 50 คณ
รับราชการทหาร
- พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
- พ.ศ. 2514 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2519 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2520 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2522 นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2523 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2529 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2536 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2540 รองแม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2541 แม่ทัพน้อยที่ 1
- พ.ศ. 2543 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
- พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
- พ.ศ. 2545 แม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารบก
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- 2 เมษายน พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย
ปี พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2558 เป็นกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. 2515 – เหรียญชัยสมรภูมิ กรณีการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเปลวระเบิด)
- พ.ศ. 2526 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2517 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1