ข่าว

ดร.สามารถ คำนวณความเร็วเฟอร์รารี บอส อยู่วิทยา คิดจากระยะทางจริงเกิน 76 กม./ชม.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ วิธีคำนวณความเร็วเฟอร์รารี โดยเทียบกับการคำนวณของ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ซึ่งคำนวณความเร็วได้ 76 กม./ชม. โดยดร.สามารถ ระบุว่า ตัวแปรที่ต่างกันคือระยะทางเนื่องจาก ดร.สามารถ และ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ หาระยะทางออกมาได้ต่างกัน ดร.สามารถใช้ระยะทางที่รถวิ่งได้จึงได้ความเร็ว 126 กม./ชม. แต่ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ ใช้ความยาวตามเส้นทแยงของรถจึงคำนวณความเร็วได้ 76 กม./ชม.

ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการคำนวณความเร็วของรถเฟอร์รารีที่เกิดอุบัติเหตุเพื่อพิสูจน์ว่ารถขับมาด้วยความเร็วเท่ากับ 76 กม./ชม. จริงหรือไม่

Advertisements

“พิสูจน์! “ความเร็ว” เฟอร์รารี

ความเร็วของรถเฟอร์รารีที่เกิดอุบัติเหตุจะเท่ากับ 76 กม./ชม. หรือมากกว่า ดูวิธีคำนวณง่ายๆ เพื่อช่วยกันค้นหาความจริงให้ปรากฏ โดยอ่านบทความสั้นๆ นี้ พร้อมดูรูปประกอบแล้วจะเข้าใจได้ไม่ยาก

สูตรการหาความเร็วมีสูตรเดียวคือ ความเร็ว = ระยะทาง/เวลา

ผม (ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์) คำนวณความเร็วได้ 126 กม./ชม. แต่ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คำนวณได้ 76 กม./ชม. โดยผมใช้วิธีหาระยะทางและเวลาเหมือนกับวิธีของ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ แต่คำนวณความเร็วได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากหาระยะทางได้ไม่เท่ากันนั่นเอง ส่วน ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำนวณได้ 177 กม./ชม. โดยใช้วิธีหาระยะทาง ต่างจากของผมและของ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ จึงไม่ขอนำมาเปรียบเทียบ

1. การคำนวณของ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

Advertisements

1.1 หาระยะทาง

ดร.สามารถ หาระยะทางที่รถวิ่งได้ โดยเริ่มวัดตั้งแต่จุดที่มุมขวาหน้าของเฟอร์รารีวิ่งแตะเส้นอ้างอิงคือต้นไม้ (ในรูปประกอบคือจุด A) ไปจนถึงจุดที่มุมซ้ายหลังวิ่งผ่านเส้นอ้างอิง (ในรูปประกอบคือจุด B) ได้ระยะทาง 8.42 เมตร (ในรูปประกอบคือ D1)

1.2 หาเวลา

ดร.สามารถ หาเวลาโดยการนับเฟรมในวิดีโอจากกล้องวงจรปิดแล้วเปลี่ยนเป็นเวลา โดยเริ่มนับตั้งแต่จุดที่มุมขวาหน้าของเฟอร์รารีวิ่งแตะเส้นอ้างอิงคือต้นไม้ (ในรูปประกอบคือจุด A) ไปจนถึงจุดที่มุมซ้ายหลังวิ่งผ่านเส้นอ้างอิง (ในรูปประกอบคือจุด B) ได้ 6 เฟรม แล้วเปลี่ยนจำนวนเฟรมเป็นระยะเวลา ซึ่งได้เท่ากับ 0.24 วินาที (ระยะเวลา = จำนวนเฟรมที่นับได้/จำนวนเฟรมใน 1 วินาที หรือ 6/25 = 0.24 วินาที)

1.3 หาความเร็ว

ความเร็ว = ระยะทาง/เวลา หรือ 8.42/0.24 = 35.08 เมตร/วินาที หรือเท่ากับ 126 กม./ชม.

2. การคำนวณของ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม

2.1 หาระยะทาง

รศ.ดร.สายประสิทธิ์ หาระยะทางโดยใช้ความยาวตามเส้นทแยงของรถได้ระยะทาง 5.281 เมตร (ในรูปประกอบคือ D2) ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่ระยะทางที่รถวิ่งได้ (ในรูปประกอบคือ D1)

2.2 หาเวลา

รศ.ดร.สายประสิทธิ์ หาเวลาโดยการนับเฟรมในวิดีโอจากกล้องวงจรปิดแล้วเปลี่ยนเป็นเวลา โดยเริ่มนับตั้งแต่จุดที่มุมขวาหน้าของเฟอร์รารีวิ่งแตะเส้นอ้างอิงคือต้นไม้ (ในรูปประกอบคือจุด A) ไปจนถึงจุดที่มุมซ้ายหลังวิ่งผ่านเส้นอ้างอิง (ในรูปประกอบคือจุด B) ได้ 6 เฟรม และ 6.5 เฟรม หรือเฉลี่ยเท่ากับ 6.25 เฟรม แล้วเปลี่ยนจำนวนเฟรมเป็นระยะเวลา ซึ่งได้เท่ากับ 0.25 วินาที (ระยะเวลา = จำนวนเฟรมที่นับได้/จำนวนเฟรมใน 1 วินาที หรือ 6.25/25 = 0.25 วินาที)

2.3 หาความเร็ว

ความเร็ว = ระยะทาง/เวลา หรือ 5.281/0.25 = 21.12 เมตร/วินาที หรือเท่ากับ 76 กม./ชม. เหตุที่คำนวณได้ความเร็วต่ำเป็นเพราะใช้ระยะทางสั้นกว่าความเป็นจริง

สรุป

ผมยืนยันว่าในการคำนวณหาความเร็วจะต้องใช้ระยะทางที่รถวิ่งได้คือ 8.42 เมตร ไม่ใช่ความยาวตามเส้นทแยงของรถคือ 5.281 เมตร ดังนั้น ความเร็วที่ผมคำนวณได้เท่ากับ 126 กม./ชม. จะใกล้เคียงกับความเป็นจริง”

https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347/2086421341502758/?type=3&theater

kamon w.

จบสายภาษาแต่หนีไปทำงานด้านบริการเกือบ 2 ปี ตอนนี้กลับมาขีด ๆ เขียน ๆ อีกครั้ง พร้อมแพสชั่นในงานข่าวที่เต็มเปี่ยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button