แห่ชมดาวหางนีโอไวส์ที่เชียงใหม่ 23 ก.ค. เข้าใกล้โลกมากที่สุด
ชม ดาวหางนีโอไวส์ ชัดๆ ที่เชียงใหม่ คืนวันที่ 23 ก.ค. เข้าใกล้โลกมากที่สุด
ช่วงค่ำ วันที่ 23 ก.ค. ทางเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ออกมาโพสต์ภาพ ดาวหางนีโอไวส์ ซึ่งสามารถชมได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบกว่า 6,000 ปี และประเทศไทยก็สามารถมองเห็นได้ โดยเป็นคืนที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด ซึ่งปรากฏสว่างบนท้องฟ้าพร้อมหางฝุ่นยาวกว่าสิบองศา
ด้านอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีประชาชนให้ความสนใจติดตามรอชม “ดาวหางนีโอไวส์” กันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับสภาพท้องฟ้าค่อนข้างโปร่ง ทัศนวิสัยท้องฟ้าดีกว่าหลายวันที่ผ่านมา สดร. จึงตั้งกล้องโทรทรรศน์เพื่อให้ประชาชนมาชมดาวหางร่วมกัน เริ่มสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เวลา 19.30 น. แม้ว่าจะมีเมฆบดบังเป็นบางครั้ง ประชาชนก็ยังพากันนั่งรอชม จนกระทั่งเวลา 20.30 น. มีเมฆปกคลุมทั่วท้องฟ้า และฝนตก จึงไม่สามารถสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ต่อไปได้
ดาวหางเป็นเสมือนก้อนของน้ำแข็ง หินและฝุ่น หลายคนเรียกมันว่า “ก้อนน้ำแข็งสกปรก” ที่โคจรไปในระบบสุริยะ ดาวหางส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก (ความกว้างของตัวดาวหางเพียงไม่กี่กิโลเมตร) เราทราบว่ามีดาวหางอย่างน้อย 5,000 ดวงที่อยู่ในระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ายังมีดาวหางอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน บริเวณระบบสุริยะชั้นนอก ในแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต
ดาวหางมีหางอยู่ 2 แบบ ได้แก่
แบบที่ 2 : “หางไอออน” (Ion tail) เป็นสายธารของแก๊สเรืองแสงที่ถูก “เป่า” โดยลมสุริยะ มีทิศทางชี้ออกจากดวงอาทิตย์ตลอด หางไอออนเป็นหางที่สว่างกว่าหางฝุ่นและเป็นหางเพียงแบบเดียวที่เรามีแนวโน้มจะเห็นได้โดยไม่ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์
แม้ดาวหางนีโอไวส์ จะกลับมาเยือนโลกอีกครั้งในอีก 6,767 ปี แต่ก็ยังคงมีดาวหางอีกหลายดวงที่จะแวะเวียนเข้ามาใกล้โลกอีกเรื่อยๆ
- ไทยลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ 18-23 ก.ค. เกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบ 6,000 ปี
- คืนนี้ชม ดาวหางนีโอไวส์ ชัดๆ ที่เชียงใหม่ เข้าใกล้โลกมากสุด