ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ถึง 30 เมษายน 2563
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ถึง 30 เมษายน 2563
วันที่ 25 มีนาคม 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ความว่า
โดยที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตผู้ได้รับเชื้อ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ทั้งยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น
การระบาดของโรคดังกล่าวจึงเป็นสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยยและความปลอดภัยของประชาชนซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ประกอบกับมีการกักตุนสินค้า จำเป็นต่อการเฝ้าระวังและคบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจนการกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ซึ่งต้องป้องกินมิให้เกิดภาวะขาดแคลนอันจะเป็นการซ้ำเดิมความเดือดร้อนของประชาชน กรณีจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชนและการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นของคณะรัฐมนตรี จึงประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปควบคู่กัน
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2563
ผลจากประกาศดังกล่าวคือรัฐบาลจะมีช่องตามกฎหมายเข้าควบคุมหรือบริหารสถานการณ์ได้ เช่น โอนอำนาจบางประการของรัฐมนตรีบางฉบับมาเป็นของนายกรัฐมนตรีเท่าที่จำเป็นและชั่วคราว จะมีการออกข้อกำหนดคือข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติบางอย่าง เช่น ห้ามเข้าออกสถานที่บางแห่ง ห้ามหรือจำกัดการเข้าออกราชอาณาจักรและการเคลื่อนย้ายประชาชนจำนวนมากข้ามเขตพื้นที่ การควบคุมการใช้ยานพาหะ เส้นทางจราจร การควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์
แตกตื่น ! ประชาชน แห่กักตุนอาหารล้นห้าง หลังประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้ยังไม่เคอร์ฟิว