สุขภาพและการแพทย์

ถ้ายังคุมไม่อยู่ ! หมอรามาฯ คาดคนไทยอาจติดเชื้อเพิ่มเป็น 3.5 แสนและตายถึง 7 พัน

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ในรายการโหนกระแสโดยพิธีกร “หนุ่ม-กรรชัย กําเนิดพลอย” ได้เชิญ 2 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยเกี่ยวกับสถิติการติดเชื้อ โควิด-19 COVID-19 ในประเทศไทย

โดย รองศาสตราจารย์ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิติกส์ คณะแพทย์ศาสตร์รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากกราฟที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ตัวเลขเพิ่มขึ้น 33% ในประเทศไทย จึงเป็นไปได้เหลือเกินที่ภายใน 4 วันจะมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มถึง 1,000 คน ถือเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก

และหากไม่มีมาตรการดูแลที่ดีโดยล่าสุดยอดติดเชื้ออยู่ที่ 721 ราย และเมื่อดูกราฟเส้นสีแดงของไทย เปรียบเทียบกับกราฟของประเทศอิตาลี และประเทศญี่ปุ่น เราต้องมีทางเลือกว่าจะไปทางไหน หากแต่ละวันยังเพิ่ม 33 % อยู่ เราก็คงกลายเป็นประเทศที่มีโควิด-19 ระบาดหนักมาก โดยคาดว่าภายใน 14 วันจะมียอดคนติดเชื้อเกือบหมื่นคน และหากยังคุมไม่อยู่ในเดือนเมษายนนี้ จะมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 3.5 แสนคน และเสียชีวิตมากกว่า 7,000 คนอย่างแน่นอน

ด้านรองศาสตราจารย์นพ. ธีระ วรธนารัตน์ รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สำหรับประเทศที่คุมอยู่จะมีผู้ติดเชื่้อ 100 – 200 เคส โดยใช้เวลามากกว่า 3-4 วันขึ้นไป ส่วนประเทศไทยนั้นยังก่ำกึ่งอาจจะอยู่ในประเทศที่ระบาดหนักได้ แต่หากมีมาตราการที่จริงจังและทุกคนช่วยกัน ก็ยังควบคุมโรคให้กลับมาอยู่ในประเทศที่ติดเชื้อน้อยได้ เราจึงไม่ควรปล่อยให้ถึง 1,000 เคส นับตั้งแต่เที่ยงวันนี้ไปจนถึงคืนวันนี้

ในส่วนของมาตราการที่ต้องจัดการอย่างจริงจังนั้นมีดังนี้ 1. ปิดกั้นไม่ให้เชื้อโควิด-19 จากนอกประเทศเข้ามาอีก ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ให้ประชาชนในประเทศของเราไปแพร่เชื้อโควิด-19 ให้คนอื่น ๆ 2. ต้องดูแลตัวเองให้ดี ล็อกดาวตัวเองอยู่เฉย ๆ กับบ้าน

” รัฐบาลควรชั่งน้ำหนักให้ดี หากไม่อยากให้โรคเกิดระบาดวงกว้าง ขอแนะนำว่าควรจำกัดเวลาในการออกเคหะสถาน เช่น 3 ทุ่มไปจนถึง เช้าเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ หากไม่ตัดวงจรในช่วงเวลานี้จะห้ามไม่อยู่ ยิ่งกรณีปิดสถานที่ต่าง ๆ แล้ว แต่ก็ยังมีบุคคลบางกลุ่มไปนั่งเล่นชายหาด ซึ่งตรงนี้ไม่มีมาตราการเข้ม ก็จะคุมไม่อยู่อีก”

“นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงคนที่หาเช้ากินค่ำ จะทำอย่างไร ต้องหาทางช่วยเยียวยาด้วย ต้องคิดว่ารัฐตัดวงจรเพื่อทำสงครามกับโรคระบาด จึงควรเตรียมเรื่องสังคมให้ดี ถ้าปิดเมืองก็ต้องรนรงค์ให้คนมีระเบียบวินัยก่อน ปฏิบัติเรื่องวางระยะห่างกันให้เป็นนิสัย”

“การเตรียมระบบสาธารณูปโภคให้พร้อม คนยากจนต้องได้รับการเยียวยา ที่สำคัญสถานพยาบาลต้องเตรียมให้พร้อม อันไหนคือสถานพยาบาลสำหรับโรคที่รุนแรง และ ไม่รุนแรง หากต้องมีการกินยาต่อเนื่องก็ต้องให้พร้อมทุกที่ และสุดท้ายเรื่องของบริหารจัดการ โดยนายกฯ ต้องเลือกขุนพลต่อสู้ให้ดี ไม่ใช่การบริหารเล่น ๆ จำเป็นต้องมีขุนพลที่ดีจริงๆ”รองศาสตราจารย์ นพ. ธีระ กล่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button