คำขวัญวันเด็กปี 2563 -คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน บอกอะไรเราได้บ้าง
คำขวัญวันเด็กปี 2563 -ย้อนดูคำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
วันเด็กแห่งชาติ – เด็กคืออนาคตของชาติ คือกำลังขับเคลื่อนประเทศในอนาคต คือกล้าอ่อนที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่หยั่งรากยึดลงแผ่นดินไทย ทั้งให้ผืนดินอุมสมบูรณ์ และให้ร่มเงาแก่แผ่นดิน ดังนั้นการจะให้ตนกล้าของเด็กเติบโต้ เป็นไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ผู้ใหญ่ควรให้ความสำคัญกับเด็ก และการจัดให้มีวันเด็กแห่งชาติ คือนัยหนึ่งของการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเด็ก
วันเด็กแห่งชาติในไทยนั้น ปัจจุบันตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม แต่อดีตเริ่มแรก ไทยกำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ แต่ด้วยปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศทำให้มีการพิจารณากำหนดวันเด็กแห่งชาติขึ้นใหม่ ให้มาอยู่ในช่วงต้นปี สื่ออีกนัยหนึ่งได้ว่า ประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับเด็กเป็นอันดับแรก ๆ
“คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2508 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติจึงได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2509 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน”
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติปี 2563
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติปี พ.ศ. 2563 ไว้ว่า “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย”
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติในอดีตที่ผ่านมา
เป็นธรรมเนียมทุกปีที่ผู้นำประเทศ ณ ขณะนั้นจะมอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ เพื่อให้เป็นแนวทางน้อมนำไปปฏิบัติ อีกแง่หนึ่งก็ยังสะท้อนต่อค่านิยม หรือความคาดหวังที่ผู้ใหญ่มีต่อเด็กด้วย
ปี | นายกรัฐมนตรี | คำขวัญ |
---|---|---|
พ.ศ. 2499 | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม | จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม |
พ.ศ. 2502 | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า |
พ.ศ. 2503 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด | |
พ.ศ. 2504 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย | |
พ.ศ. 2505 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด | |
พ.ศ. 2506 | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด | |
พ.ศ. 2508 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี |
พ.ศ. 2509 | เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี | |
พ.ศ. 2510 | อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย | |
พ.ศ. 2511 | ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย มีความเฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง | |
พ.ศ. 2512 | รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ | |
พ.ศ. 2513 | เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส | |
พ.ศ. 2514 | ยามเด็กจงหมั่นเรียนเพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ | |
พ.ศ. 2515 | เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ | |
พ.ศ. 2516 | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ | |
พ.ศ. 2517 | สัญญา ธรรมศักดิ์ | สามัคคีคือพลัง |
พ.ศ. 2518 | เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี | |
พ.ศ. 2519 | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช | เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดีมีวินัยเสียแต่บัดนี้ |
พ.ศ. 2520 | ธานินทร์ กรัยวิเชียร | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย |
พ.ศ. 2521 | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง |
พ.ศ. 2522 | เด็กไทยคือหัวใจของชาติ | |
พ.ศ. 2523 | อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย | |
พ.ศ. 2524 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม |
พ.ศ. 2525 | ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติศาสน์กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย | |
พ.ศ. 2526 | รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม | |
พ.ศ. 2527 | รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา | |
พ.ศ. 2528 | สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม | |
พ.ศ. 2529 | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม | |
พ.ศ. 2530 | ||
พ.ศ. 2531 | ||
พ.ศ. 2532 | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. 2533 | ||
พ.ศ. 2534 | รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา | |
พ.ศ. 2535 | อานันท์ ปันยารชุน | สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม |
พ.ศ. 2536 | ชวน หลีกภัย | ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม |
พ.ศ. 2537 | ||
พ.ศ. 2538 | สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม | |
พ.ศ. 2539 | บรรหาร ศิลปอาชา | มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด |
พ.ศ. 2540 | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด |
พ.ศ. 2541 | ชวน หลีกภัย | ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย |
พ.ศ. 2542 | ||
พ.ศ. 2543 | มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย | |
พ.ศ. 2544 | ||
พ.ศ. 2545 | พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร | เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส |
พ.ศ. 2546 | เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี | |
พ.ศ. 2547 | รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน | |
พ.ศ. 2548 | เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด | |
พ.ศ. 2549 | อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด | |
พ.ศ. 2550 | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข |
พ.ศ. 2551 | สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม | |
พ.ศ. 2552 | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี |
พ.ศ. 2553 | คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม | |
พ.ศ. 2554 | รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ | |
พ.ศ. 2555 | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี |
พ.ศ. 2556 | รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน | |
พ.ศ. 2557 | กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทย ให้มั่นคง | |
พ.ศ. 2558 | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต |
พ.ศ. 2559 | เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต | |
พ.ศ. 2560 | เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง | |
พ.ศ. 2561 | รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี | |
พ.ศ. 2562 | เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ |
จากคำขวัญทั้งหมดจะสังเกตเห็นว่า คุณธรรม จะปรากฏอยู่แทบทุกสมัยในคำขวัญ เริ่มตั้งแต่ปี 2524 สมัยรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เช่นเดียวกับคำว่า วินัย ที่มีมาตั้งแต่สมัยพ.ศ. 2504 สมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เรื่อยมาเป็นระยะ จนถึงสมัยของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พอๆ กับคำว่า เรียน และ ศึกษา ที่มีอยู่ในคำขวัญแทบทุกปีขณะที่คำว่า เทคโนโลยี เป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งมีปรากฎสมัยปี พ.ศ. 2546 ยุคนายกทักษิณ ชินวัตตร
นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่หวังให้เด็กเป็นคนที่มีคุณธรรม ใส่ใจการเรียน มีวินัย และก้าวทันโลก
ภาพถ่ายโดยSteven LibralonบนUnsplash
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : วิกิพีเดีย