ข่าว

เต้ มงคลกิตติ์ เสนอยกเลิกเพลงชาติปัจจุบัน เหตุเนื้อหาไม่กล่าวถึงพระมหากษัตริย์

เต้ มงคลกิตติ์ เสนอยกเลิกเพลงชาติปัจจุบัน เปลี่ยนใช้ ‘ความฝันอันสูงสุด’ ไปพลาง

วันที่ 6 พ.ย. ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ รัฐสภา เกียกกาย ช่วงอภิปรายความเดือดร้อนของประชาชน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ ได้ลุกขึ้นเสนอต่อที่ประชุมสภาให้ยกเลิกเพลงชาติไทยปัจจุบัน

นายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า เพลงชาติไทยปัจจุบัน แต่งขึ้นในสมัยจอมพลป. เนื้อหาไม่ได้เอ่ยถึงพระมหากษัตริย์เลย ที่ผ่านมาสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเจ้าตากสินก็กู้กรุงศรีฯ สมัย ร.5 ถ้าไม่มีพระองค์ท่านไทยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตก

Advertisements

ไม่เหมือนกับประเทศอังกฤษที่มีเพลงที่เกี่ยวของกับควีนของตน เพลงชาติไทยปัจจุบันใช้มาแปดสิบกว่าปี ไม่มีเนื้อหาใจความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงขอปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้เป็นปจุบัน ระหว่างนี้เสนอให้ใช้ “เพลงความฝันอันสูงสุด” ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงร.9 ไปพลางก่อน เพื่อเตือนสติไม่ให้ท้อถอยในการทำความดี

หลังจากนั้นนายชวน ฐานะประทานสภาได้เตือนให้หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงสถาบัน

ประวัติเพลงชาติไทย

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475ได้มีการประพันธ์เพลงชาติไทยขึ้นใหม่ โดย พระเจนดุริยางค์ เป็นผู้แต่งทำนอง คำร้องฉบับแรกสุดแต่งโดยขุนวิจิตรมาตรา แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482

ปี พ.ศ. 2482 มีความสำคัญคือ “ประเทศสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหมเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ ปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

Advertisements

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button