ข่าว

“ศาสนาพุทธสอนให้ยึดติด” กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ฟ้องนศ.วาดภาพพระอุลตร้าแมน

“ศาสนาพุทธสอนให้ยึดติด” กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ฟ้องนักศึกษาวาดภาพพระพุทธรูปอุลตร้าแมน

พระพุทธรูปอุลตร้าแมน แจ้งความ – จากกรณีดราม่าในโลกออนไลน์ หลังมีการเผยแพร่ภาพวาดศิลปะที่ผสมผสานอุลตร้าแมนกับพระพุทธรูป ผลงานของนักศึกษาชั้นปี 4 สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏนครราชสีมา ชื่อคอนเซป “เต๊อะเติ๋น” จนต้องออกมาขอขมาตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

คืบหน้าล่าสุด เรื่องยังไม่จบลงง่าย ๆ เมื่อ กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน นำโดย ดร.จรูญ วรรณกสิณานนท์ ทนายพงศ์นรินทร์ อมรรัตนา และคณะ ได้เดินทางมายื่นหน้างสือถึงผู้บังคับการปราบปราม เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับนักศึกษาที่วาดภาพอุลตร้าแมน และบุคคลอื่นอีก 4 คน ซึ่ง มีนายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และทนายเดชา กิติวิทยานันท์ ทนายคลายทุกข์ รวมอยู่ด้วย

นายจรูญกล่าวว่า การวาดภาพอุลตร้าแมนในลักษณะล้อเลียนพระพุทธเจ้า พระพุทธรูป เป็นการลบหลู่พระพุทธศาสนา การเอาสิ่งสูงสุดมาทำปู้ยี่ปู้ยำ ถือเป็นการทำลายศรัทธา ย่ำยี่จิตใจของชาวพุทธ กฎหมายกำหนดไว้แล้ว พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของศาสนาพุทธ นายจรูญอ้างอิงถึง มาตรา 67 และกฎหมายอาญา มาตรา 206

(*มาตรา 67 เขียนไว้ว่า ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท
เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

กฎหมายอาญา มาตรา 206 เขียนไว้ว่า ผู้ใดกระทําด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ด ปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ)

“พระพุทธเจ้าบอกว่าต้องยึดติด ต้องได้ มีคำสอนที่ไหนบอกว่า ไม่ให้ยึดติด ไม่มี” ดร.จรูญ กล่าว

อ่านข่าวก่อนหน้า

 

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx