ข่าวภูมิภาค

รองผู้ว่ากทม เดือด street food ใช่ว่าจะขายตรงไหนก็ได้

สกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร โพสต์เดือด street food ใช่ว่าจะขายตรงไหนก็ได้ : ข่าวกรุงเทพ

ขายอาหารบนทางเท้า – เมื่อวันที่ 5 กันยายน นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่ากรุงเทพมหานครโพสต์รายงานการตรวจพื้นที่บริเวณหน้าโรบินสันบางรัก เนื่องจากมีคนร้องเยอะมากว่ามีการแอบค้าขายบนทางเท้าจนแทบไม่มีที่เดิน

นายสกลธี เลยสั่งการให้เทศกิจเขตบางรักเข้มงวดและออกตรวจให้ถี่ขึ้น รวมถึงร้านอาหารตรงหัวมุมถนนใต้สะพานตากสินที่ตั้งโต๊ะล้ำทางเท้าออกมาเยอะมากๆ ให้ผลักดันเข้าแนวที่ของทางร้านไป

Advertisements

จากนั้นนายสกลธีไปตรวจตลาดบางแค ถนนเพชรเกษมซึ่งประมาณปลายปีนี้ ให้ทางเขตเตรียมแผนย้ายผู้ค้าไปที่ตลาดบางแคภิรมย์ซอยเพชรเกษม 69 ที่เป็นตลาดของทางกรุงเทพมหานคร จุดรองรับผู้ค้าบริเวณนี้ทั้งหมดสภาพของถนนเพชรเกษมตรงนี้สมบูรณ์เกือบ 100% ไม่เป็นหลุมบ่อแล้ว จะได้ให้สำนักการโยธาประสานผู้รับเหมาให้มาตีเส้นถนนให้ชัดเจนต่อไป #ทางเท้าไว้ให้คนเดิน

สกลธี ตรวจทางเท้า

ต่อมา นายสกลธี ภัททิยกุล ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึงจุดการตั้งขายอาหารบนฟุตปาธ ระบุว่า การเป็นเมือง street ฟู๊ดของกรุงเทพ ใช่ว่าจะตั้งร้านขายตรงไหนก็ได้

“คำว่าเมืองแห่ง street food ของกรุงเทพมหานครนี่ส่วนตัวผมคิดว่าไม่น่าจะใช่อยากจะขายของขายอาหารตรงทางเท้าตรงไหนก็ได้นะครับ มันควรจะขายในจุดที่เป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญ มีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอ ไม่ทำให้การจราจรติดขัดและไม่กระทบกับความสะดวกสบายของคนใช้ทางเท้าเป็นสำคัญเพราะเป็นที่สาธารณะที่คนใช้ร่วมกัน บริบทสมัยก่อนที่มีจุดผ่อนผันก็เพื่อช่วยเหลือคนรายได้น้อยที่เป็นหาบเร่แผงลอยจริงๆ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่มีหาบเร่แผงลอยแบบนั้นแล้วครับ กลับเปลี่ยนเป็นรถเข็นขนาดใหญ่หรือตั้งโต๊ะเป็นกิจลักษณะบนทางเท้าอย่างที่เห็นๆ กันในสมัยก่อนกรุงเทพมหานครมีจุดผ่อนผันเดิม 600 กว่าจุดเริ่มมาตั้งแต่สมัยพลตรีจำลอง ศรีเมืองเป็นผู้ว่าฯ ต่อมาสมัยประมาณปี พ.ศ.2554 เจ้าพนักงานจราจร (บช.น.) ได้มีหนังสือถึงกรุงเทพมหานครว่าไม่เห็นชอบให้มีจุดผ่อนผันเนื่องจากทำให้การจราจรติดขัด จึงเป็นที่มาของการทยอยยกเลิกจุดผ่อนผันตั้งแต่ตอนนั้นถึงปัจจุบันครับ ปัจจุบันตัวเลขกลมๆ ของจุดผ่อนผันอยู่ที่ประมาณ 170 จุด

ตรวจร้านอาหาร กทม

Advertisements

โดยในการยกเลิกนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมาตามนโยบายของรัฐบาลจะให้ทางกรุงเทพมหานครหาจุดขายใหม่ให้ แต่ปัญหาที่พบเกือบจะทั้งหมดคือผู้ค้าไม่อยากไปขายที่ใหม่ อยากขายที่เดิมริมถนนตรงนั้นแหละครับ แม้จุดที่หาให้จะห่างไปจากจุดเดิมไม่กี่เมตรก็ตาม แต่ที่สุดก็มีผู้ค้าที่โดนยกเลิกจุดย้ายไปน่าจะร่วมเป็นพันคนตามจุดที่หาให้ทั่วกรุงเทพฯ ครับ ดังนั้นที่ว่ากรุงเทพมหานครตัดโอกาสการทำมาหากินจึงไม่น่าจะใช่ ได้หาที่ใหม่ให้ทุกครั้งเพียงแต่ผู้ค้าไม่อยากไปเพราะมันขายดีสู้บนทางเท้าไม่ได้ครับ

เวลากรุงเทพมหานครจะพิจารณายกเลิกจุดผ่อนผันเราดูองค์ประกอบหลายประการครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจราจร ความเรียบร้อยและความสะอาด จำนวนผู้ค้า รวมถึงพื้นที่บริเวณทางเท้าว่ามีพอหรือไม่ รวมถึงประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งจุดผ่อนผันครับ ไม่ได้จะตะบี้ตะบันเลิกให้หมดๆ ไป จุดที่เรียบร้อยไม่สกปรกรกรุงรังก็ยังคงอยู่จัดระเบียบกันไป บางจุดที่มีชื่อเสียงและจำเป็นเป็นหน้าเป็นตาของประเทศอย่างเยาวราชหรือถนนข้าวสารก็จะคงไว้โดยพิจารณาดูเป็นกรณีๆ ไปและจะพัฒนาให้มันดีขึ้น โดยในจุดอื่นก็เช่นกันครับ จุดที่กำลังจะเลิกในอนาคตก็จะหาที่ใหม่เสนอผู้ค้าครับ

ตรวจขายอาหารบนฟุตปาธ ทางเท้ากรุงเทพ

ช่วงนี้มีคนออกมาพูดกันเยอะเรื่องกรุงเทพมหานครเข้มงวดกับหาบเร่แผงลอยครับ อยากให้ลงไปเดินทางเท้ากันบ้างครับจะได้เข้าใจหัวอกคนใช้ทางเท้า ทำมาหากินก็เข้าใจครับแต่ต้องไม่เบียดเบียนสิทธิของคนใช้ทางเท้าด้วยครับ ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ #ทางเท้าไว้ให้คนเดินครับ #จะออกตรวจต่อเนื่องต่อไปครับ #ออกไม่บอกเขตครับ ???”

ภาพจาก : สกลธี ภัททิยกุล

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button