ขึ้นภาษียาเส้นไม่ช่วย ยอดขายบุหรี่หด ‘โรงงานยาสูบ’ กู้ 1,500 ล้าน เสริมสภาพคล่อง
รายได้ยาสูบหดกว่าเป้า ‘โรงงานยาสูบ’ กู้ 1,500 ล้าน หวังเสริมสภาพคล่อง : ข่าวเศรษฐกิจ
วันที่ 12 มิ.ย. สืบเนื่องจากนโยบายขยายเวลาการบังคับใช้อัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบอัตราเดียว 40% ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ขณะที่ยาเส้น ภาษีสรรพสามิตขึ้นเป็น 0.1 บาทต่อกรัม เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 20 เท่า ส่งผลให้ราคายาเส้นปรับขึ้นซองละ 2 บาท มีผลตั้งแต่เที่ยงคืน8 พ.ค. ที่ผ่านมา คาดว่าจะได้เงินภาษีเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ล้านบาทต่อปีงบประมาณ
อ่านข่าวก่อนหน้า : ขึ้นภาษียาเส้นไม่ช่วย ‘โรงงานยาสูบ’ กู้ 1,500 ล้าน เสริมสภาพคล่อง
แต่อย่างไรก็ดี ล่าสุด ครม.มีมติเห็นชอบให้การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) กู้เงินระยะสั้น จำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้เป็นทุนหมุนเวียนในการเสริมสภาพคล่อง กรณีจำเป็นเร่งด่วน และเพื่อบริหารความเสี่ยง เสริมสภาพคล่องเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในองค์กร เช่น ค่าแสตมป์ยาสูบและภาระภาษีต่าง ๆ (ภาษีเพื่อราชการส่วนท้องถิ่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ) ค่าซื้อใบยาและวัตถุดิบในการผลิตบุหรี่
การขออนุมัติเงินกู้ดังกล่าวอยู่ภายใต้ปัจจัย 2 ข้อ คือ
1. รายได้จากการจำหน่ายยาสูบของปีงบประมาณ 2562 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่จำนวน 18,817 ล้านมวน ปัจจัยหลักมาจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตภายหลังที่พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาลที่ต้องการจะลดการบริโภคยาสูบของประชาชนในประเทศ และ ยสท. ได้ปรับราคาบุหรี่ขึ้นตามกฎหมายใหม่ ส่งผลให้ยอดจำหน่ายบุหรี่ของ ยสท. ลดลง
2. ค่าใช้จ่ายในการรับซื้อใบยาสูบสูงกว่าที่ประมาณการไว้จำนวน 1,189.10 ล้านบาท
อ้างอิงจาก