ข่าว

นักวิทยาศาสตร์อธิบาย การนอนใน “ห้องที่เย็น” ช่วยให้เราสุขภาพดีได้อย่างไร

นักวิทยาศาสตร์อธิบาย การนอนให้ “ห้องที่เย็น” ช่วยให้เราสุขภาพดีได้อย่างไร

วันที่ 20 มี.ค. สื่อต่างประเทศรายงาน Christopher Winter ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ที่ Charlottesville Neurology & Sleep Medicine เผยแพร่บทความใน HuffPost ระบุว่าอุณหภูมิห้องนอนส่งผลอย่างมากต่อการนอนหลับ (ฝันดี) ของเรา

เขาเสนอว่า อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมแก่การนอนหลับที่สุดอยู่ระหว่าง 15-19 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่า 23 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส จะทำให้เรานอนหลับไม่สบาย พลิกตัวตลอดทั้งคืน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ อุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มขึ้นและลดลงตามธรรมชาติในช่วง 24 ชั่วโมง โดยค่าสูงสุดเกิดขึ้นในช่วงบ่าย ช่วงเวลาต่ำสุดประมาณ ตี5 หรือเช้ามืด การนอนหลับมักเริ่มเมื่ออุณหภูมิร่างกายของเราลดลง ดังนั้นห้องที่เย็นกว่าสามารถกระตุ้นให้เราหลับเร็วขึ้น

นอกจากนี้การนอนหลับกับระดับอุณหภูมิห้องยังส่งผลต่อความอ่อนเยาว์อีกด้วย โดยการศึกษาพบว่า การนอนในห้องที่อุ่นกว่า 21 องศาเซลเซียส ร่างกายของคุณจะหยุดยั้งการปล่อยเมลาโทนินซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนต่อต้านริ้วรอยที่ดีที่สุดของร่างกาย เมื่อเราหลับ อุณหภูมิร่างกายของเราลดลง ร่างกายของเราจะปล่อยเมลาโทนินซึ่งจะทำให้ร่างกายเย็นลงเล็กน้อย และเมื่ออุณหภูมิร่างกายเย็นลง การปล่อยฮอร์โมนเจริญเติบโตฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียด) ก็ลดลงเช่นกัน ถ้าเรานอนหลับไม่เพียงพอ เราจะตื่นขึ้นมาพร้อมคอร์ติซอลระดับสูง หมายความว่ามีโอกาสที่จะเกิดความเครียดหรือวิตกกังวลสูงตามไปด้วย

 

ผลการศึกษาหนึ่งพบว่าการนอนในห้องประมาณ 19 องศาเซลเซียส สามารถช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิซึมบางอย่าง เช่นโรคเบาหวาน ผู้เข้าร่วมการศึกษาไม่เพียงเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้นเมื่อตื่นขึ้น แต่ยังเพิ่มปริมาณไขมันสีน้ำตาลหรือไขมันที่ดีเป็นสองเท่า ช่วยให้ร่างกายสามารถเก็บแคลอรี่ได้น้อยลง เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งนี้สามารถลดความเสี่ยงของโรคได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button