ข่าว

อ.ปวิน ชำแหละเกมการทูต ขั้นตอนหลังเขมรยื่นจดหมายฟ้อง UN อ้างโดนไทยรุกราน

อ.ปวิน ชำแหละขั้นตอน UN หลังกัมพูชายื่นหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงฯ สู่มาตรการแทรกแซง 2 ประเทศ

วันที่ 24 กรกฎาคม 2568 – ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ศาสตราจารย์ ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว อธิบายถึงขั้นตอนและกระบวนการของสหประชาชาติ (UN) หลังจากมีรายงานว่าประเทศกัมพูชาได้ยื่นจดหมายอย่างเป็นทางการถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) การเคลื่อนไหวนี้ถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการทางการทูตระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับสิ่งที่กัมพูชามองว่าเป็น “ภัยคุกคามต่อสันติภาพ”

อาจารย์ปวินอธิบายว่า การยื่นจดหมายเป็นการส่งสัญญาณให้ประชาคมโลกรรับทราบถึงปัญหา จะนำไปสู่การเรียกประชุมฉุกเฉินของคณะมนตรีความมั่นคงฯ โดยทันที

อาจารย์ปวิน ได้สรุปขั้นตอนการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้

1. ที่ประชุมฉุกเฉินจะประเมินว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เข้าข่ายเป็น “ภัยคุกคามต่อสันติภาพ” ตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติหรือไม่ การตัดสินใจในขั้นตอนนี้มีความสำคัญ เพราะจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของมาตรการที่จะตามมา

2. ในระยะแรก คณะมนตรีฯ จะเน้นการใช้แนวทางการทูตก่อนเสมอ อาจเป็นการเรียกร้องให้คู่ขัดแย้งหยุดยิง หรือลดความตึงเครียดของสถานการณ์ นอกจากนี้ อาจมีการแต่งตั้งทูตพิเศษ หรือมอบหมายให้เลขาธิการสหประชาชาติทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ย

3. หากความพยายามแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีไม่ได้ผล คณะมนตรีฯ สามารถพิจารณาใช้มาตรการบังคับ ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ระดับ

4. มาตรการที่ไม่ใช้กำลังทหาร เช่น การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ, การสั่งห้ามเดินทางของผู้เกี่ยวข้อง หรือการอายัดทรัพย์สิน

5. มาตรการใช้กำลังทหา ถือเป็นทางเลือกสุดท้าย ในกรณีที่สถานการณ์รุนแรงมาก คณะมนตรีฯ อาจอนุญาตให้ใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง

อำนาจวีโต้ (Veto) ตัวแปรสำคัญ

อ.ปวินเน้นย้ำถึงปัจจัยสำคัญที่สุดในการผ่านมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ นั่นคือการลงคะแนนเสียง มติสำคัญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกอย่างน้อย 9 จาก 15 ประเทศ แต่อุปสรรคสำคัญคือ “สิทธิยับยั้ง” หรือ “วีโต้” (Veto) ของ 5 ประเทศสมาชิกถาวร ได้แก่ จีน, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา หากแม้แต่ประเทศเดียวในกลุ่มนี้ใช้สิทธิวีโต้ มตินั้นจะตกไปทันที ซึ่งทำให้คณะมนตรีฯ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อได้

ปวินยังตั้งข้อสังเกตให้ขบคิดถึงความสัมพันธ์ของไทยกับ 5 ประเทศมหาอำนาจดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในเวทีโลกได้

ในกรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงฯ ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เพราะการวีโต้ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) อาจเข้ามามีบทบาทแทนภายใต้หลักการ “การรวมพลังเพื่อสันติภาพ” (Uniting for Peace) เพื่อเสนอแนะมาตรการต่างๆ แก่ชาติสมาชิก แต่ปวินชี้แจงว่า มติของสมัชชาใหญ่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายโดยตรงเหมือนมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ

สรุปแล้ว การที่กัมพูชายื่นเรื่องถึง UNSC คือการร้องขอให้ประชาคมโลกเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการจะเริ่มจากการทูตไปจนถึงมาตรการที่หนักขึ้น แต่ผลลัพธ์สุดท้ายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีของ 5 ประเทศสมาชิกถาวรผู้ถือสิทธิวีโต้

อาเซียนเคลมนักเคลมหนาว่าไม่เคยมีสงครามขนาดใหญ่ระหว่างประเทศสมาชิกตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรในปี 1967 วันนี้แหละ วันที่สงครามไทย-กัมพูชาเริ่มก่อตัว มันจะเป็นเรื่องท้าทายความ relevance ของอาเซียนอย่างมาก ในส่วนของความสัมพันธ์ทวิภาคี ดิชั้นอยากเตือนว่า ยิ่งความขัดแย้งบานปลายเท่าไหร่ วิธีการแก้ไขยิ่งยากมากขึ้น เหมือนทั้งสองฝ่ายกำลังขุดหลุมฝังตัวเอง ยิ่งเกิดสงคราม หลุมที่ขุดก็ยิ่งลึก มันจะกลับขึ้นมาลำบาก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การปะทะกันครั้งนี้ ในปี 2025 ที่มันเปลี่ยนแปลงไปก็คือ บทบาทของโซเชียลมีเดีย

ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา บอกเลยว่า แม้โซเชียลมีเดียมันจะอัพเดทสถานการณ์ความตึงเครียดให้เรารู้แบบ real time แต่มันก็กลายมาเป็นพื้นที่ของการยั่วยุ การปล่อยข่าวเท็จ การสร้างกระแสชาตินิยม ที่รัฐ/กองทัพไม่อาจควบคุมมันได้ จนถึงต้องฝากเตือนกันว่า อย่าโพสต์อะไรที่จะทำให้ฝ่ายเราเสียเปรียบ

…พูดว่าอย่าโพสต์อะไรที่เราจะเสียเปรียบ เนี่ยงงใจกับกองทัพบกมาก เรียกร้องให้ชาวเน็ตติดแฮ็ชแท็ค #กัมพูชายิงก่อน เพื่ออะไร? ทำไมกองทัพต้องมาทำอะไรแบบนี้? การปะทะมันเกิดขึ้นไปแล้ว นาทีนี้ต้องคิดว่าทำยังไงจะยุติมัน ไม่ใช่เติมเชื้อเพลิงในกองไฟ เพราะคนที่เสียหายจริงๆ มีแค่คนตามแนวชายแดน และทหารไพร่ลูกอีเย็นที่ต้องเสี่ยงตๅย ไม่ใช่ผู้นำกองทัพหรือนักรบไซเบอร์ที่เชียร์สงครามในห้องแอร์”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx