ข่าว

รู้จัก ทุ่นระเบิด PMN-2 สุดอันตราย ทนทานต่อแรงระเบิด ยากต่อการเก็บกู้

เจาะลึก ทุ่นระเบิด PMN-2 ชนิดพลาสติก กลไกอันตราย ทนทานต่อการเก็บกู้ และมีระบบหน่วงเวลา ซึ่งทำทหารไทย 3 นายบาดเจ็บสาหัสที่ช่องบก สะท้อนการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

จากกรณีเหตุการณ์ที่ทหารไทย 3 นายได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบกับระเบิดบริเวณชายแดนช่องบก ได้สร้างความโกรธแค้นและสะเทือนใจให้กับคนไทยอย่างมาก แต่เบื้องลึกของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ อาจไม่ใช่เพียงอุบัติเหตุจากระเบิดที่ตกค้างในอดีต แต่เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการกระทำที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และอาจกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของไทยในการตอบโต้ทางการทูตกับกัมพูชา

สำหรับทุ่นระเบิด PMN-2 ทำจากพลาสติกฉีดขึ้นรูป โดยทั่วไปมีสีเขียวเข้มคล้ายใบไม้ แต่ก็สามารถพบเห็นสีน้ำตาลได้เช่นกัน จุดเด่นที่สังเกตได้ง่ายคือแป้นรับแรงกดด้านบนซึ่งทำจากยางสีดำและมีลักษณะเป็นรูปกากบาท (X-Shape) ภายในบรรจุดินระเบิดแรงสูง RDX/TNT น้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งถือว่ามีปริมาณค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับทุ่นระเบิดสังหารบุคคลขนาดใกล้เคียงกัน

ภาพทุ่นระเบิด PMN-2 ที่แสดงรูปลักษณ์ภายนอกและแป้นรับแรงกดรูปกากบาท (X-Shape)
ภาพจาก: Wikipedia

กลไกสุดอันตราย ทนทานต่อแรงระเบิด

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง PMN-2 ที่ออกแบบในช่วงปี 1970 กับทุ่นระเบิดรุ่นเก่าอย่าง PMN-1 ที่ออกแบบในช่วงปี 1950 นั้น คือ ระบบชนวนที่ทันสมัยกว่า โดยการออกแบบแป้นรับแรงกดรูปกากบาทและกลไกภายใน ทำให้ทุ่นระเบิด PMN-2 มีความทนทานต่อการเก็บกู้ด้วยวิธีการใช้แรงอัดระเบิด ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการเคลียร์พื้นที่ กล่าวคือ การใช้ระเบิดอื่นจุดในบริเวณใกล้เคียงเพื่อสร้างแรงอัดให้ทุ่นระเบิดทำงานนั้น ไม่สามารถใช้กับ PMN-2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเก็บกู้จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยมือ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่ามาก

ทุ่นระเบิด PMN-2 ยังมีระบบหน่วงเวลาให้ชนวนพร้อมทำงาน ประมาณ 60 วินาที หลังจากที่ผู้ติดตั้งได้ดึงสลักนิรภัยออกแล้ว ระบบนี้จะช่วยให้ผู้ที่นำทุ่นระเบิดไปวางมีเวลาเพียงพอที่จะถอนตัวออกจากพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย ก่อนที่ชนวนจะพร้อมทำงานเต็มรูปแบบ

ข้อมูลคุณสมบัติของ PMN-2

  • ความสูง 53 มิลลิเมตร
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร
  • น้ำหนักรวม 440 กรัม
  • ดินระเบิด 100 กรัม (TG-40 ซึ่งเป็น RDX/TNT)
  • วัสดุตัวทุ่น เป็นพลาสติก
  • ระบบชนวนเป็น MD-9 (ทำงานเมื่อถูกเหยียบ)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Suriyen J.

นักเขียนบทความข่าว จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาปรัชญาและศาสนา มีประสบการณ์กับสำนักข่าวระดับประเทศ ชื่นชอบด้านสังคม การเมือง ต่างประเทศ ทำให้สามารถสร้างคุณค่าผ่านงานเขียน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ครบทุกมิติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx