ข่าว

เขมรเปิดศึกปลาร้า ซัดไทย มั่วตราสินค้า GI “ปลาฮกเสียมเรียบ” จี้ห้ามส่งขาย

ปลาร้ากัมพูชา แต่สะเทือนคนไทย ซวง นวย รองปธ.อาวุโส โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์เขมร อัดคลิป TikTok เหตุเผอิญเจอสินค้า GI ปลาฮกเสียมเรียบ แต่ฉลากเขียนเป็น “Product of Thailand” ขายอยู่ในอเมริกา

วานนี้ (12 ก.ค.) นายซวง นอย รองประธานอาวุโสคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการส่งเสริมโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้โพสต์คลิปลงในติ๊กต็อก (TikTok) โดยตั้งคำถามทำไม ปลาร้าของกัมพูชา ถึงต้องไปผลิตและตีตราสินค้าจากประเทศไทยซึ่งเรื่องราวที่คาใจดังกล่าวมีสาเหตุมาจากที่เจ้าตัวสบโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชม “ตลาดกัมพูชา” ในเมืองลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ

จากนั้นได้ไปพบเข้ากับ “ปลาฮก” หรือ “ปลาร้ากัมพูชา” ที่ทำจากปลากราย ฉลากเขียนว่าเป็นสินค้าที่ผลิตจากไทย “Product of Thailand” และบริษัทส่งออกอยู่ในกทม.

ปลาร้า กัมพูชา หน้าตา
ภาพ TikTok @shoungnoy
ภาพ TikTok @shoungnoy

อย่างไรก็ดี นายซวงมองว่า “ปลาฮกเสียมเรียบ” ซึ่งเป็นชื่อที่กัมพูชาขึ้นทะเบียนไว้แล้ว จึงไม่น่าจะต้องไปติดตราสินค้าที่มาจากบ้านเรา โดยกระปุกเล็กขายในราคาประมาณ 20 ดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยตกที่ประมาณ 600 บาท

ด้าน ไฮ ลี เอียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทคอนไฟเรล บริษัทแปรรูปอาหารชื่อดังของกัมพูชา ออกมาย้ำในประเด็นนี้ โดยยืนยันว่า ไทยไม่สามารถใช้ตราสินค้าปราฮกเสียมเรียบของกัมพูชาในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศได้ เนื่องจากพวกเขาได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนเม.ย. 2568 ที่ผ่านมา ดังนั้นประเทศไทยจะไม่มีสิทธิ์ส่งออกสินค้าที่มีตราสินค้า “ปราฮกเสียมเรียบ” ที่ผลิตในประเทศไทยไปยังตลาดต่างประเทศ เฉพาะสินค้าที่ผลิตในกัมพูชาเท่านั้นที่มีสิทธิ์ส่งออก

@shoungnoy

ប្រហុកសៀមរាប ផលិតនៅថៃ ហេតុអី? មេត្តាជួយទិញផលិតផលខ្មែរ ផលិតផលនៅខ្មែរយកទៅលក់

♬ original sound – shoungnoy – shoungnoy

ข้อมูลจาก Cambodianess ระบุ ปลาฮก (Prahok) ปลาหมักแบบดั้งเดิมในจ.เสียมราฐ ของกัมพูชา ได้รับสถานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2568 ซึ่งตรงกับวันทรัพย์สินทางปัญญาโลก นับเป็นก้าวสำคัญในการปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชนบท

ปราฮก ทำจากแป้งเตรย์เรียลซึ่งคือ “แป้งสาลีโฮลวีตชนิดหนึ่ง” เป็นหลัก และผลิตในช่วงฤดูทำประมงเดือนธ.ค.ถึงก.พ. เป็นอาหารหลักของครัวเรือนชาวเขมร คาดว่าสถานะ GI ดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงตลาดสำหรับผู้ผลิต อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น

“ความสำเร็จครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของเราในการปกป้องและส่งเสริมทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศผ่านกรอบทรัพย์สินทางปัญญาที่แข็งแกร่ง” จาม นิมุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในตอนได้รับการขึ้นทะเบียนจีไอ.

เธอย้ำว่าการรับรอง GI ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องประเพณี แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์กัมพูชาทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดโลกอีกด้วย

นิมุลกล่าวเสริมว่า รัฐบาลมองว่าระบบ GI เป็นเครื่องมือสำหรับ “การค้าและการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของกระทรวงที่จะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อการเติบโตอย่างครอบคลุมและการค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่ม

ส่วน ดิธ ทีนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ สะท้อนความรู้สึกดังกล่าว โดยระบุว่า เสียมราฐปราฮก “เป็นตัวแทนของความเชื่อมโยงระหว่างประเพณีของเรากับการพัฒนาที่ยั่งยืน” และมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตร.

การจดทะเบียน GI ของปลาฮกเสียมราฐได้รับการสนับสนุนผ่านโครงการ CAPFISH-Capture: Post-harvest Fisheries Development ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ดำเนินการโดยองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับสำนักงานประมงและกระทรวงพาณิชย์

ปัจจุบัน “กัมพูชา” มีผลิตภัณฑ์ 7 รายการที่ได้รับการรับรอง GI ได้แก่ พริกไทยกัมปอต , น้ำตาลโตนดกัมปงสปือ , ส้มโอเกาะจุ้ง น้ำผึ้งมณฑลคีรี , เกลือกัมปอต-แกบ , กุ้งมังกรตาแก้ว และน้ำปลากัมปอต.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx