ข่าวต่างประเทศ

กัมพูชา ชวนแรงงานกลับบ้าน โวเงินเดือน 8,130 บาท สวัสดิการ-สภาพแวดล้อมดีกว่าไทย

รมว.แรงงาน กัมพูชา ชวนแรงงานกลับบ้านเกิด โวเงินเดือน 8,130 บาท อวดอ้างสวัสดิการ-สภาพแวดล้อมดีกว่าไทย

วันที่ 8 กรกฎาคม 2568 สื่อกัมพูชารายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและฝึกอาชีพของกัมพูชา แนะประชาชน โดยเฉพาะแรงงานกัมพูชาที่เดินทางกลับจากประเทศไทย ลงทะเบียนหางานกับโรงงานและสถานประกอบการภายในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันสภาพการจ้างงานและสิทธิประโยชน์ในกัมพูชากำลังพัฒนาและมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

เฮง ซัวร์ (Heng Sour) รมว.แรงงานกัมพูชา กล่าวถึงเรื่องนี้ในงาน Job Forum เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีแรงงานเขมรที่เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศไทยประมาณ 1,000 คนเข้าร่วมงาน โดยมีหลายบริษัทร่วมเสนอตำแหน่งานเกือบ 10,000 อัตรา รมว.แรงงาน เผยว่า แรงงานที่ทำงานในโรงงานของกัมพูชา มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลฟรี เงินบำนาญ ประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน และการสนับสนุนด้านอื่น ๆ ที่ไม่เคยได้รับขณะทำงานในไทย

“หากรวมเงินเดือนพื้นฐานกับเบี้ยเลี้ยงต่าง ๆ แรงงานจะมีรายได้อย่างน้อย 250 ดอลลาร์ หรือราว 8,130 บาท และหากมีการทำงานล่วงเวลา รายได้จะเกิน 300 ดอลลาร์ หรือราว 9,763 บาท แม้บางคนมองว่าเงินเดือน 300 ดอลลาร์เป็นเพียงขั้นต่ำ แต่ขอให้จำไว้ว่าเงิน 30 หรือ 50 ดอลลาร์ในแต่ละเดือนจะถูกเก็บออมโดยรัฐ เมื่อคุณเจ็บป่วยหรือเกษียณ รัฐจะให้การสนับสนุนด้านการเงิน ต่างจากการทำงานในต่างประเทศที่ไม่มีระบบประกันสังคมหรือเงินออมใด ๆ

นอกจากนี้ แรงงานหญิงยังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐในช่วงคลอดบุตร สิทธิประโยชน์เหล่านี้ ทำให้การทำงานในประเทศของเราน่าสนใจกว่าที่เคย อีกทั้งการเดินทางกลับมาทำงานในประเทศตัวเองยังประหยัดค่าใช้จ่าย และมีความมั่นคงในชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วย”

กัมพูชา ชวนแรงงานกลับบ้าน โวเงินเดือน 8,130 บาท สวัสดิการ-สภาพแวดล้อมดีกว่าไทย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงจาก : khmertimeskh

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

GIFT T.

Rewriter สาวจากรั้วสวนดุสิต เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานข่าวมากว่า 5 ปี ชื่นชอบการส่งต่อเรื่องราวเกี่ยวกับ ไลฟ์สไตล์ หวย และข่าวบันเทิง พร้อมเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้นักอ่านได้เห็นประเด็นรอบด้านมากยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx