กัมพูชา เคลมหนัก โพสต์ยินดี ครบรอบ 17 ปี ปราสาทพระวิหาร ได้ขึ้นทะเบียน มรดกโลก

ฮุน เซน และ ฮุน มาเนต ผู้นำกัมพูชา โพสต์เฟซบุ๊กฉลองครบรอบ 17 ปี การขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก ย้ำถึงชัยชนะทางกฎหมายและการปกป้องมรดกชาติ
(วันที่ 7 กรกฎาคม 2568) สมเด็จฯ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา และ สมเด็จฯ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โพสต์เฟซบุ๊ก แสดงความยินดีครบรอบ 17 ปี ของการขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) นับตั้งแต่วันจดทะเบียนวันที่ 7 กรกฎาคม 2551
ฮุน เซน ระบุข้อความว่า “สุขสันต์วันครบรอบ 17 ปี การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของยูเนสโก 7 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2568

ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 นี้ เป็นวันครบรอบ 17 ปีที่ปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้
ส่วน ฮุน มาเนต ระบุข้อความว่า “เฉลิมฉลองครบรอบ 17 ปีแห่งการจารึกปราสาทพระวิหารในบัญชีรายชื่อมรดกโลกของยูเนสโก (7 กรกฎาคม 2551 – 7 กรกฎาคม 2568)

ปราสาทพระวิหารทอดยาวแผ่กว้างดั่งเรือในมหาสมุทร ตั้งตระหง่านอย่างภาคภูมิใจบนยอดเขา เผยให้เห็นทัศนียภาพอันงดงามตระการตา เทวสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดพระวิหารทางตอนเหนือของกัมพูชา ถูกสร้างขึ้นภายในเทือกเขาพนมดงรัก และอุทิศให้กับเทพเจ้าแห่งขุนเขา ศิขรีศวรและภัทเรศวร สร้างขึ้นโดยเจ้าชายอินทรยุทธ
พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้ซึ่งได้อัญเชิญศิวลึงค์และศรีศิขรีศวรมาจากเมืองลิงคปุระ (วัดภู) เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ เขาพระวิหาร เทวสถานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยบรรพบุรุษชาวเขมรแปดพระองค์ ซึ่งทุกพระองค์ล้วนเป็นอดีตพระมหากษัตริย์
การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของเรา คือหน้าที่ร่วมกันของชาวกัมพูชาทุกคน”
เส้นทางของ ปราสาทพระวิหาร สู่มรดกโลก
จากโพสต์ของ ฮุน เซน ได้ย้ำว่าความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก คือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของรัฐบาลกัมพูชา โดยเส้นทางนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2544 ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ส่งจดหมายถึงยูเนสโกเพื่อร้องขอการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ ก่อนที่คณะกรรมการมรดกโลกจะตอบรับคำขอในปี 2549 และส่งผู้เชี่ยวชาญมาประเมินสภาพปราสาทในปี 2550
จนกระทั่งในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ที่ประชุมได้มีมติรับรองให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ซึ่งฝ่ายกัมพูชามองว่านี่คือชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ในการยืนยันสิทธิ์เหนือปราสาทพระวิหาร หลังจากที่เคยชนะคดีในศาลโลกมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ในสมัยของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
อย่างไรก็ตาม เพียงไม่กี่วันหลังการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ความขัดแย้งเรื่องอาณาเขตโดยรอบปราสาทก็ได้ปะทุขึ้นจนนำไปสู่การเผชิญหน้าและการปะทะกันทางทหารระหว่างไทยและกัมพูชาหลายครั้งในช่วงปี 2551-2554
บทความจากฝั่งกัมพูชาระบุว่า สมเด็จฯ ฮุน เซน ได้พยายามต่อสู้ทุกวิถีทางทั้งทางการทหารและทางกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อปกป้องสมบัติของชาติ จนนำไปสู่ชัยชนะอีกครั้งในเวทีโลก เมื่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ณ กรุงเฮก มีคำพิพากษาตีความคำตัดสินเดิมในปี 2556 โดยระบุอย่างชัดเจนว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารนั้นอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และสั่งให้ฝ่ายไทยต้องถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าว
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์นี้ รัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดให้วันที่ 10 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันหยุดประจำชาติเพื่อรำลึกถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และปราสาทสมโบร์ไพรกุกเป็นมรดกโลก
ที่มา: FRESH NEWS
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ย้อนคดี ‘ปราสาทพระวิหาร’ คำตัดสินศาลโลก แผนที่ในกระดาษ ทำไทยแพ้กัมพูชา
- ฮุนเซน เสียใจ ทหารกัมพูชาดับ ประณามผู้รุกราน ชี้ ซ้ำรอยปราสาทพระวิหาร
- อดีตผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี เตือนอย่าเพิ่งไว้ใจ ขอให้ดูบทเรียนเขาพระวิหาร
ติดตาม The Thaiger บน Google News: