ข่าวต่างประเทศ

นักธุรกิจเขมร แฉกันเอง! ตีเนียนแบนของไทย แต่แอบจ้างผลิตในไทย แปะป้ายเกาหลี-ญี่ปุ่น

เพจดัง เปิดโพสต์ นักธุรกิจเขมร ตัดพ้อเพื่อนร่วมชาติ ปากบอกแบนแต่ลับหลังจ้างไทยผลิต สวนทางความจริงที่ธุรกิจไทยกว่า 6 หมื่นแห่งคุมเศรษฐกิจ

ท่ามกลางกระแสชาตินิยม #แบนสินค้าไทย ที่ถูกปลุกปั่นอย่างหนักในกัมพูชา ได้เกิดเรื่องราวสุดย้อนแย้งขึ้น เมื่อนักธุรกิจชื่อดังชาวกัมพูชาออกมาโพสต์ข้อความตัดพ้อและเปิดโปงพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชาติ ที่ปากก็ประกาศว่าจะเลิกผลิตสินค้าในไทย แต่ลับหลังกลับยังคงจ้างโรงงานในไทยผลิตเหมือนเดิม เพียงแต่ใช้วิธี สวมสัญชาติ สินค้าเป็นแบรนด์เกาหลี-ญี่ปุ่น เพื่อหลอกขายคนในประเทศตัวเอง

เรื่องราวสุนี้ถูกนำมาเผยแพร่ในวงกว้างบนโซเชียลมีเดียของไทยเมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยเพจดัง Drama-addict ได้แชร์ข้อมูลมาจากเพจ The Wild Chronicles Group ซึ่งเป็นผู้ติดตามและรายงานเรื่องราวดังกล่าว โดยต้นเรื่องมาจากโพสต์ของนักธุรกิจชาวกัมพูชาที่แสดงความไม่พอใจและตั้งคำถามถึงความละอายใจของเพื่อนร่วมอาชีพ

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังของกัมพูชาอย่าง សេម កែវពិសិដ្ឋ (เซม แก้วพิเสิด) กำลังพยายามปลุกกระแสชาตินิยมให้ชาวกัมพูชาเลิกใช้สินค้าไทยอย่างหนัก ถึงขั้นเปิดเผยรายชื่อบริษัทไทยกว่า 60,000 แห่งที่จดทะเบียนทำธุรกิจในกัมพูชา ซึ่งมีบริษัทยักษ์ใหญ่ครอบคลุมทุกภาคส่วน ตั้งแต่ธนาคาร, พลังงาน, ค้าปลีก ไปจนถึงอาหารและสินค้าเกษตร ดังนี้

แต่ความจริงที่น่าเจ็บปวดคือ เศรษฐกิจของกัมพูชายังคงต้องพึ่งพาฐานการผลิตและสินค้าจากไทยอย่างมหาศาล การแบนสินค้าไทยจึงทำได้ยากในทางปฏิบัติ ซึ่งการกระทำของผู้ประกอบการที่ถูกแฉนี้ได้ตอกย้ำให้เห็นภาพดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้น

เพจดัง เปิดโพสต์ นักธุรกิจเขมร ตัดพ้อเพื่อนร่วมชาติ
សេម កែវពិសិដ្ឋ

กลุ่มธนาคารและบริการทางการเงิน

  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค

  • บริษัท ปตท.
  • บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (โรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม)

กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและโรงแรม

  • 7-Eleven
  • Minor Hotels (อนันตรา Hotels & Resorts)
  • โรบินสัน

กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

  • ปูนซีเมนต์ไทย (SCG)
  • บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD)

กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและสื่อ

  • บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น

กลุ่มเกษตรกรรมและอาหาร

  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ (CP)
  • บริษัท เบทาโกร
นักธุรกิจบางคนประกาศอย่างดุดันว่าจะหยุดผลิตสินค้าในสยาม
សេម កែវពិសិដ្ឋ

พฤติกรรมการจ้างไทยผลิตแต่ติดแบรนด์อื่นนั้นสามารถทำได้ผ่านโรงงาน OEM (Original Equipment Manufacturer) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรงงานที่รับจ้างผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการ ทำให้แบรนด์จากกัมพูชาสามารถสั่งผลิตสินค้าในไทยที่มีคุณภาพและต้นทุนที่เหมาะสม แล้วนำไปติดแบรนด์ของตนเองหรือแบรนด์จากชาติอื่นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหลีกเลี่ยงกระแสต่อต้านได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : Lertler Verwang, សេម កែវពិសិដ្ឋ

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx