ข่าว

ผู้ออกแบบตึก สตง.ท้าชนผลสอบ ยืนยัน ออกแบบถูกหลักวิชาชีพ

ผู้ออกแบบโครงสร้างอาคาร สตง. แถลงการณ์โต้กลับผลสรุปเหตุอาคารถล่มจากแผ่นดินไหว ยืนยันการออกแบบเป็นไปตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานสากล พร้อมแสดงความร่วมมือในการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม

(เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา) เพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว โพสต์ แถลงการณ์จากบริษัทผู้ออกแบบ อาคารที่ทำการ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ (สตง) ตอบโต้ผลสรุปการสอบสาเหตุที่ทำให้อาคารถล่ม จากเหตุแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยระบุว่า

“แถลงการณ์กรณีผลการตรวจสอบอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม

สรยุทธ กรรมกรข่าว โพสต์
ภาพจาก: FB/ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

ตามที่เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2568 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้แถลง เกี่ยวกับเหตุการณ์อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม นั้น

แถลงการณ์ บริษัทออกแบบ อาคาร สตง.
ภาพจาก: FB/ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

บริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ออกแบบโครงสร้าง ขอยืนยันว่า การออกแบบโครงสร้างอาคารดังกล่าว ได้ดำเนินการอย่างเคร่งครัด ตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานการออกแบบที่ได้รับการยอมรับใบในระดับสากลและเป็นไปตาม “กฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550” รวมถึง “มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสันสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ. 1302-52)” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในช่วงเวลาที่ดำเนินการออกแบบและการส่งมอบงาน

บริษัทฯ ขอเรียนต่อไปว่า งานวิศวกรรมโครงสร้าง เป็นศาสตร์ที่มีความชับช้อน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบอาจมีข้อจำกัดในด้านการตีความทางเทคนิคบางประการ ซึ่งบริษัทฯ พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือให้ข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตรวจสอบ

บริษัทฯ จึงออกแถลงการณ์ฉบับนี้ เพื่อสร้างเข้าใจที่ถูกต้องบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในบริบทของวิชาชีพวิศวกรรม
ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการปกป้องชื่อเสียงและผลประโยชน์อันชอบธรรมของบริษัทฯ อย่างเต็มที่”

ทั้งนี้ จากผลการสอบสาเหตุ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น สรุปได้ว่า เกิดจากความบกพร่องอยู่ในส่วนของการออกแบบและวิธีการก่อสร้าง โดยเฉพาะเทคนิคการก่อสร้าง เช่น ผนังช่องลิฟต์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานทางวิศวกรรม
และในส่วนของเหล็กเส้น และคอนกรีตนั้นเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด แต่ข้อผิดพลาดอยู่ในส่วนเทคนิคการก่อสร้างของโครงการดังกล่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx