การเงินเศรษฐกิจ

ด่วน กยศ. ขยายระยะเวลาลงทะเบียน ตัดยอด-ปรับโครงสร้างหนี้ ถึง 24 พ.ค.

รองโฆษกรัฐบาล ย้ำเตือน ผู้กู้ กยศ. รีบลงทะเบียนตัดยอด-ปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนวันที่ 24 พ.ค. 68 ไม่งั้นอาจเกิดภาระดอกเบี้ย-ถูกฟ้อง

วันนี้ (18 พ.ค.) นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยคืบหน้าการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ตาม พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 เพื่อลดภาระของผู้กู้ และเปิดโอกาสให้สามารถชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสม ว่า มาตรการใหม่ ถูกออกแบบให้เป็นผลดีต่อผู้กู้ยืมทุกคน ทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ และเงื่อนไขการผ่อนชำระ เนื่องจากพบว่ามีผู้กู้จำนวนมากยังไม่ลงทะเบียนหรือดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตามสิทธิที่ได้รับ ส่งผลให้บางราย อาจต้องรับภาระทางการเงินเพิ่มขึ้น หากไม่ได้เข้าระบบตามเวลาที่กำหนด

ดังนั้น กยศ. จึงประกาศขยายระยะเวลาในการตัดยอดประจำเดือนของปีนี้ ไปถึงวันที่ 24 พ.ค. 68 จากเดิมวันที่ 17 พ.ค. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กู้ที่ยังไม่ลงทะเบียน ได้เข้าระบบลงทะเบียนเพื่อขอคืนเงิน และปรับยอดหนี้ก่อนต้องจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มหรือเกิดค่าปรับในอนาคต

รวมถึงขอความร่วมมือจากผู้กู้ กยศ.ทุกคน ให้เร่งดำเนินการภายในระยะเวลาที่ขยายออกไป เพื่อให้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ และลดภาระทางการเงินของตนเองในระยะยาว หากผู้กู้ยืมไม่ชำระเงินคืนตามกำหนดจะทำให้เกิดภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและเกิดเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงอาจถูกฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมายอีกด้วย

ภาพจาก อนุกูล พฤกษานุศักดิ์

วิธีปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. แบบอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับท่านที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. แบบอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบปฏิบัติการ Android และ IOS

การตั้งค่า Google Chrome ระบบ Android

วิธีตั้งค่า Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์เริ่มต้น สําหรับระบบปฏิบัติการ Android เพื่อให้การใช้งานระบบมีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถ ทําตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ไปที่ การตั้งค่า (Settings) ของโทรศัพท์

2. เลื่อนลงและเลือก แอป (Apps) หรือ แอปพลิเคชันเริ่มต้น (Default Apps)

3. เลือก เบราว์เซอร์เริ่มต้น (Default Browser App)

4. เลือก Google Chrome

ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. แบบอิเล็กทรอนิกส์ - 1
ภาพจาก : studentloan

การตั้งค่า Google Chrome ระบบ IOS

ส่วนตั้งค่า Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์เริ่มต้น สําหรับบนระบบปฏิบัติการ IOS สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิด การตั้งค่า (Settings)

2. เลื่อนลงมาจนเจอ แอป (Apps) แล้วกดเข้าไป

3. ค้นหา Google Chrome และกดเข้าไป

4. เลือก แอปเบราว์เซอร์เริ่มต้น (Default Browser App)

5. กดเลือก Google Chrome

ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. แบบอิเล็กทรอนิกส์ IOS
ภาพจาก : studentloan

ขั้นตอนการทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แบบอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากตั้งค่า Google Chrome ระบบ Android และ IOS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้เลย

1. เลือกกดปุ่มทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แบบอิเล็กทรอนิกส์

การทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
ภาพจาก : studentloan

2. กรอกเลขประจําตัวประชาชน เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

ตรวจสอบสิทธิ์ทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
ภาพจาก : studentloan

3. กรอกวันเดือนปีเกิด (ปีพ.ศ.)

กรอกวันเดือนปีเกิด (ปีพ.ศ.)
ภาพจาก : studentloan

หมายเหตุ : แจ้งปัญหากรณีข้อมูลไม่ถูกต้อง

หาก วัน/เดือน/ปีเกิด ที่ผู้กู้ยืมระบุเข้ามา ไม่ตรงกับในฐานข้อมูลในระบบ ระบบจะแสดงแจ้งเพื่อให้ผู้กู้ยืมระบุ วัน/เดือน/ปีเกิด ที่ถูกต้องเพื่อดําเนินการในกระบวนการแก้ไขข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่กองทุนฯ ต่อไป โดยหากแก้ไขข้อมูล เสร็จสิ้นแล้ว จึงจะสามารถดําเนินการขั้นตอนถัดไปได้

วิธีแก้ไขกรณีข้อมูลไม่ถูกต้อง
ภาพจาก : studentloan

4. แสดงวิธียืนยันข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการสแกน QR Code ด้วยแอพพลิเคชัน ThaiD ผู้ใช้งานกดปุ่ม “ถัดไป” เพื่อ
สแกน QR Code

วิธียืนยันข้อมูลส่วนบุคคล
ภาพจาก : studentloan

5. ระบุเบอร์โทรศัพท์มือถือ และอีเมล และเลือกเลขบัญชีเงินกู้ยืมที่จะทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

6. อ่านและทําเครื่องหมาย 1 เงื่อนไขข้อกําหนดการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นกดปุ่ม “บันทึกรายละเอียด สัญญาปรับโครงสร้างหนี้”

ระบุข้อมูลทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
ภาพจาก : studentloan

7. ระบบจะสร้างรายละเอียดข้อมูลผู้กู้ยืม ข้อมูลรายละเอียดบัญชี และยอดหนี้ที่ต้องผ่อนจ่ายต่อเดือนให้ผู้กู้ยืม ตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นจึงกดปุ่ม “รายละเอียดสัญญา”

ระบบจะสร้างรายละเอียดข้อมูลผู้กู้ยืม
ภาพจาก : studentloan

8. จากนั้นทําเครื่องหมายถูกต้อง เพื่อรับรองข้อมูลรายละเอียดความถูกต้อง และกดปุ่ม “ยืนยัน”

รับรองข้อมูลรายละเอียดความถูกต้อง
ภาพจาก : studentloan

9. สแกน QR Code ผ่านแอพพลิเคชั่น ThailD ยืนยันตัวตน (ลงลายมือชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์)

สแกน QR Code ผ่านแอพพลิเคชั่น ThailD ยืนยันตัวตน
ภาพจาก : studentloan

10. จะมีแจ้งเตือนให้ตรวจสอบว่าอีเมลที่ระบุมาถูกต้องหรือไม่ หากตกลง ระบบจะส่งลิงค์ยืนยันการลงลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้กู้ผ่านทางอีเมลดังกล่าว

ตรวจสอบว่าอีเมลที่ระบุมาถูกต้องหรือไม่
ภาพจาก : studentloan

11. ระบบจะส่งลิงค์ยืนยันการทํารายการไปที่อีเมลที่ผู้กู้ยืมได้ให้ไว้หน้าลงทะเบียน และให้ยืนยันการทํารายการ เพื่อลงนามการทําสัญญา ทํารายการ ภายใน 5 นาที

ระบบจะส่งลิงค์ยืนยันการทํารายการไปที่อีเมล
ภาพจาก : studentloan

12. เสร็จสิ้นกระบวนการทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้กู้ยืมยังมีบัญชีเงินกู้อื่นๆ ที่ มากกว่า 1 บัญชี ระบบแจ้งให้ท่านทราบดังรูปตัวอย่าง

13. กดที่ปุ่ม “ตรวจสอบสัญญา” เพื่อตรวจสอบสัญญาปรับโครงสร้างหนี้พร้อมดาวนโหลดเอกสารสัญญา

เสร็จสิ้นกระบวนการทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์
ภาพจาก : studentloan

วิธีวอล์กอินทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่ไหนบ้าง?

สำหรับผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้ หรืออาจไม่สะดวกในการทำธุรกรรมออนไลน์ กยศ. ยังคงเปิดช่องทางให้สามารถเดินทางมา ติดต่อทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ผู้กู้ยืมสามารถเดินทางไปติดต่อได้ที่สำนักงานใหญ่ กยศ. ซึ่งตั้งอยู่ที่ อาคารเอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ หรือ อาคารรุ่งโรจน์ ธนกุล จะเปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. (หยุดทำการในวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศของรัฐบาล)

สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมไปสำหรับการติดต่อ Walk-in นั้นไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน จำนวน 1 ฉบับ (พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล จำนวน 1 ฉบับ (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล) เท่านั้น

ข้อมูลจาก : studentloan

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

yo

นักเขียนข่าว บทความทั่วไปประเภทไลฟ์สไตล์ สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. ติดต่อได้ที่อีเมล yo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx