กรมอุตุ เตือน กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ฝนถล่มแต่เช้า ป่วนทั่วไทย แนะฝนตกกี่โมงบ้าง

วันนี้ 13 พฤษภาคม 2568 เวลา 08:30 น. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ พบกลุ่มฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณกรุงเทพมหานคร(ทุกเขต) สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
กลุ่มฝนเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าปกคลุมบริเวณกรุงเทพมหานคร(ทุกเขต) สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี หลังจากนั้น 09.00-09.30 น. คาดว่ากลุ่มฝนยังคงปกคลุมบริเวณกรุงเทพมหานคร(ทุกเขต)สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี คาดว่าปกคลุมมากกว่า 1 ชั่วโมง
ฝนยังตกแบบนี้ไปตลอดทั้งสัปดาห์ แต่ในสัปดาห์นี้ ฝนส่วนมากจะเริ่มมาช่วงบ่ายถึงค่ำ มากขึ้น (หลังเลิกงาน ) ช่วงนี้ยังเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูฯ
พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) ลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13-27 พ.ค.68 init. 2025051212 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย
ระยะนี้ยังมีฝนออกนอกบ้านต้องพกร่ม ใช้รถใช้ถนนด้วยความระวัง ฝนตกถนนลื่น
ช่วง 13 – 17 พ.ค.68 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะเริ่มพัดปกคลุมประเทศไทยและมีกำลังแรงขึ้น และมีหย่อมความกดอากาศต่ำทางด้านทะเลอันดามัน ทำให้ฝนทั่วไทยยังกระจายต่อเนื่อง ต้องเฝ้าระวังฝนที่ตกสะสมโดยเฉพาะทางด้านภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ด้านรับลม) และภาคตะวันออก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้
ช่วง 18 – 22 พ.ค. 68 มรสุมอ่อนลงบ้าง แต่ยังมีฝนเกิดขึ้นช่วงบ่ายถึงค่ำ ตามมรสุมที่จะพัดปกคลุม และ 23 – 27 พ.ค.68 ฝนเพิ่มขึ้นและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพกันอีกครั้ง ระวังฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน
ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายฤดู ฝนอาจเกิดขึ้นได้หลายเวลา ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง ปริมาณเฉลี่ยเล็กน้อยถึงปานกลาง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ฝนจะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายถึงค่ำ โดยปกติประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนประมาณกลางเดือน พ.ค. สำหรับฤดูฝนปีนี้รอประกาศอย่างเป็นทางการจากกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า เมื่อพิจารณาเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่างๆ ครบถ้วน ช่วงที่มีฝนควรสำรองน้ำไว้ใช้ เพื่ออุปโภค บริโภค ในบางพื้นที่น้ำฝนยังไม่เพียงพอต่อการเกษตรกรรม (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ)
ติดตาม The Thaiger บน Google News: