ข่าวข่าวต่างประเทศ

เด็ก 12 ติดกินนมแม่ บังคับให้หย่านม กลับอาละวาด แพทย์เตือนเสี่ยงกระทบพัฒนาการ

ไวรัลสนั่นเมืองจีน! เด็กสาววัย 12 ปี ติดกินนมแม่ วันละ 3 มื้อ! ไม่ให้กิน-สั่งหย่านม กลับอาละวาด ผู้เชี่ยวชาญเตือนระวังผลเสียรอบด้าน!

กลายเป็นประเด็นร้อนที่จุดกระแสถกเถียงอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ของจีน หลังจากเว็บไซต์ข่าว Sohu ได้นำเสนอเรื่องราวอันน่าประหลาดใจของคุณแม่ชาวจีนท่านหนึ่ง ที่ยังคงให้นมจากเต้าแก่ลูกสาวซึ่งมีอายุถึง 12 ปีแล้ว โดยจะต้องให้กินนมแม่ทุกวันวันละ 3 มื้อ

รายงานระบุว่า ปัญหาใหญ่ที่คุณแม่ท่านนี้กำลังเผชิญอยู่นั่นก็คือ ทุกครั้งที่เธอพยายามจะให้ลูกสาว “หย่านม” เด็กหญิงจะมี อาการต่อต้านอย่างรุนแรง ถึงขั้นแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว กระโจนเข้าใส่ผู้เป็นแม่ ทำให้การหย่านมไม่สามารถทำได้สำเร็จเลยสักครั้ง

เรื่องราวนี้หลังจากถูกเผยแพร่ออกไปในโซเชียลของจีน ซึ่งก็มีชาวเน็ตร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย รวมถึงคุณแม่ท่านหนึ่งเธอก็ได้แชร์ประสบการณ์ชีวิตที่คล้ายคลึงกันนี้ของตัวเองเช่นกัน เธอเล่าว่า “ลูกกำลังเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว แต่ยังคงมีความต้องการดูดนมจากเต้าของแม่อยู่ แม้ว่าแม่จะไม่มีน้ำนมแล้วก็ตาม”

กรณีดังกล่าว ได้รับความสนใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและโภชนาการเป็นอย่างมาก เพราะพวกเราเริ่มเป็นกังวลว่า “การให้นมแม่เกินวัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังอายุ 3 ปีขึ้นไป อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และการปรับตัวเข้าสังคม”

เปิด 7 ผลกระทบ หากไม่หย่านมแม่ตามวัยอันควร

ผู้เชี่ยวชาญได้สรุปผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่หย่านมแม่ในวัยที่เหมาะสมไว้ ดังนี้

  1. เสี่ยงขาดสารอาหาร: เด็กอาจติดการดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว จนปฏิเสธการรับประทานอาหารอื่นที่มีประโยชน์ ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามวัย
  2. พัฒนาการกล้ามเนื้อปากล่าช้า: การดูดนมแทนการเคี้ยวอาหาร ทำให้ทักษะการเคี้ยวและกล้ามเนื้อในช่องปากไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
  3. เสี่ยงฟันผุสูง: น้ำนมที่ตกค้างในช่องปาก โดยเฉพาะหากดูดนมแล้วหลับไปโดยไม่ได้แปรงฟัน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาฟันผุในเด็ก
  4. สร้างพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม: เด็กอาจติดรสชาติน้ำนมแม่ จนไม่ยอมรับและไม่กล้าลองรับประทานอาหารชนิดใหม่ๆ
  5. ขาดความเป็นอิสระทางอารมณ์: เด็กที่ยังดูดนมแม่อยู่ในวัยโต มักจะพึ่งพาแม่สูงมาก มีแนวโน้มที่จะไม่ต้องการแยกจากแม่ ไม่อยากไปโรงเรียน หรือเข้าสังคมกับผู้อื่น
  6. กระทบสุขภาพจิตแม่: การต้องให้นมลูกอย่างต่อเนื่องยาวนาน อาจสร้างความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจให้กับผู้เป็นแม่ และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้
  7. รบกวนการนอนหลับ: การที่เด็กต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อดูดนม หรือเข้าห้องน้ำบ่อย (จากการดื่มนมมาก) จะส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ต่อเนื่องและไม่เพียงพอ
ภาพใช้สำหรับประกอบ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำแนะนำว่า เด็กทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และสามารถให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยต่อไปได้ จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้นตามความเหมาะสม แต่โดยทั่วไปแนะนำว่า เด็กควรหย่านมเมื่ออายุครบ 2 ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย และยังช่วยให้คุณแม่มีเวลาพักผ่อนและดูแลสุขภาพของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

กรณีที่เกิดขึ้นในประเทศจีนนี้ จึงเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการหย่านมแม่ในวัยที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อพัฒนาการของลูกในระยะยาว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงจาก : phunuphapluat.nguoiduatin.vn

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

GIFT T.

Rewriter สาวจากรั้วสวนดุสิต เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานข่าวมากว่า 5 ปี ชื่นชอบการส่งต่อเรื่องราวเกี่ยวกับ ไลฟ์สไตล์ หวย และข่าวบันเทิง พร้อมเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้นักอ่านได้เห็นประเด็นรอบด้านมากยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx