ข่าว

หนุ่มถูกงูพิษกัด หมอบอก เคสไม่สำคัญ ให้กลับบ้าน สุดท้ายโคม่า ลิ้นคับปาก เกือบตาย

ร้องยับ หนุ่มระยองถูกงูพิษกัด หมอเจาะเลือดบอก ไม่เจอพิษงู ให้กลับบ้าน สุดท้ายหอาการโคม่า หายใจไม่ออก ลิ้นคับปาก ญาติโวยทำเกินไปไหม ทุกชีวิตสำคัญ

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Paweena Tubtimhom โพสต์เล่าเหตุการณ์ ลูกน้องถูกงูพิษกัดกลางดึก แต่เมื่อพาไปโรงพยาบาลใน ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง กลับถูกแพทย์ส่งกลับบ้าน ให้เพียงยาพาราเซตามอลกับยาฆ่าเชื้อ พร้อมบอกว่า “ไม่ใช่เคสสำคัญ” เพราะเจาะเลือดแล้วไม่พบพิษงูในกระแสเลือด

แต่ไม่ถึงเช้า อาการของผู้ป่วยทรุดหนักอย่างรวดเร็ว พูดไม่ได้ หายใจไม่ออก ลิ้นคับปาก ลืมตาไม่ขึ้น จนต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอีกครั้ง ซึ่งผลตรวจรอบใหม่พบสารพิษในเลือด ชี้ชัดว่าเป็น พิษงูมีพิษจริง

โพสต์ต้นเรื่องระบุว่า “ลูกน้องโดนงูกัดตั้งแต่ตีหนึ่ง พาไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน ต.ชุมแสง หมอบอกให้กลับบ้าน เพราะเจาะเลือดไม่เจอพิษ แถมพูดกับแม่เด็กว่า ‘ไม่ใช่เคสสำคัญ’ ให้ยาพารา กับยาฆ่าเชื้อ แล้วบอก 9 โมงให้มาใหม่

ยังไม่ทัน 9 โมง ลูกน้องเราพูดไม่ได้ หายใจไม่ออก ลิ้นคับปาก ตาหลับลืมตาไม่ขึ้น รีบพาไปอีกโรงพยาบาล เจาะเลือดใหม่เจอพิษในเลือด สรุปคือ งูมีพิษกัด… ชีวิตคน ๆ หนึ่งคุณทำได้สะเพร่าขนาดนี้เลยเหรอวะ?”

ผู้โพสต์ยังระบุเพิ่มเติมว่า งูที่กัดคือ งูทับสมิงคลา ซึ่งเป็นหนึ่งในงูพิษที่พบในพื้นที่ภาคตะวันออก ขอให้เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้กับระบบการแพทย์ อย่ามองข้ามอาการของผู้ป่วยที่ถูกงูกัด เพราะบางครั้งอาการอาจยังไม่แสดงออกชัดเจนในช่วงแรก

เธอทิ้งท้ายว่า “ชีวิตของทุกคนมีค่าเหมือนกับชีวิตของพวกคุณ อย่าให้เคสแบบนี้เกิดขึ้นกับใครอีก”

ด้านชาวเน็ตต่างเข้ามาร่วมแสดงความเห็นและส่งกำลังใจจำนวนมาก พร้อมตั้งคำถามถึงการวินิจฉัยของแพทย์โรงพยาบาลแรกที่ให้ผู้ป่วยกลับบ้านทั้งที่เป็นเคสเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ทั้งนี้ งูทับสมิงคลา เป็นงูพิษชนิดหนึ่งในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า พิษของมันมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้

ร้องยับ หนุ่มระยองถูกงูพิษกัด หมอเจาะเลือดบอก ไม่เจอพิษงู ให้กลับบ้าน สุดท้ายหอาการโคม่า หายใจไม่ออก ลิ้นคับปาก ญาติโวยทำเกินไปไหม ทุกชีวิตสำคัญ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

ตามหลักการแล้ว ถูกงูกัด ถ้าไม่รู้มีพิษหรือไม่ หมอจะรักษาอย่างไร

กรณีที่ถูกงูกัด ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นงูมีพิษหรือไม่ หากเป็นไปได้ พยายามจดจำลักษณะของงู เช่น สี ลวดลาย ขนาด หรือถ่ายรูปไว้ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์วินิจฉัย เลือกเซรุ่มได้ถูกต้อง แต่ห้ามเสียเวลาตามจับงูเด็ดขาด เพราะอาจถูกกัดซ้ำหรือทำให้ไปโรงพยาบาลช้าลง

เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์จะซักประวัติ ลักษณะงู อาการที่เกิดขึ้น รวมถึงตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อประเมินสัญญาณชีพและอาการแสดงของพิษงู กรณีไม่ทราบชนิดงู ไม่แน่ใจว่ามีพิษไหม จะรับผู้ป่วยไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

ที่สำคัญต้องมีการมีการตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือการตรวจอื่นๆ ในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินการทำงานของอวัยวะต่างๆ และติดตามการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดจากพิษงู

ทั้งนี้ แพทย์จะให้เซรุ่ม ต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าผู้ป่วยถูกงูพิษกัด และทราบชนิดของงู หรือมีอาการแสดงที่เข้าได้กับพิษของงูชนิดใดชนิดหนึ่ง การให้เซรุ่มโดยไม่จำเป็นอาจก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้

หากไม่ทราบชนิดงู แต่ผู้ป่วยมีอาการแสดงของพิษงูรุนแรง แพทย์อาจตัดสินใจให้เซรุ่มรวม ซึ่งครอบคลุมพิษงูได้หลายชนิด แต่ก็มีโอกาสแพ้สูงกว่าเซรุ่มจำเพาะชนิด

ส่วนในฐานะคนโดนกัดเอง สามารถประเมินเบื้องต้นได้จากรอยกัด ถ้างูมีพิษ อาจเห็นรอยเขี้ยวพิษ 1 หรือ 2 จุดใหญ่ๆ ชัดเจน ร่วมกับรอยฟันซี่เล็กๆ หรืออาจเห็นแค่รอยขีดข่วนหากกัดถากๆ ถ้าเป็นงูไม่มีพิษ มักจะเห็นเป็นรอยฟันซี่เล็กๆ เรียงกันเป็นแถวหลายแถว ไม่มีรอยเขี้ยวใหญ่

แต่ในความเป็นจริง รอยกัดอาจไม่ชัดเจนเสมอไป งูมีพิษบางครั้งอาจกัดแล้วไม่ทิ้งรอยเขี้ยวชัดเจน หรืออาจมีแค่รอยเดียวถ้าเขี้ยวอีกข้างหักหรืองับไม่เต็มที่ และงูไม่มีพิษบางชนิดที่มีฟันซี่ใหญ่ก็อาจทำให้เข้าใจผิดได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx