ข่าว

รู้จักที่มา หลวงประดิษฐ์ คือใคร เกี่ยวอะไรกับ หลวงประดิษฐ์วาทกรรม

คำว่า “หลวงประดิษฐ์” ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีในหน้าประวัติศาสตร์นั้น แท้จริงแล้ว ไม่ใช่ชื่อบุคคลโดยตรง แต่เป็นส่วนหนึ่งของบรรดาศักดิ์ ที่ได้รับพระราชทาน ให้กับบุคคลสำคัญ ทำประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง เช่น ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์

ระบบบรรดาศักดิ์และราชทินนามของไทย

เพื่อให้เข้าใจที่มาและความสำคัญ เราต้องย้อนกลับไปดูระบบบรรดาศักดิ์และราชทินนามของไทยในอดีต รวมถึงบทบาทของท่านปรีดี พนมยงค์ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

ในอดีต สังคมไทยมีระบบศักดินา บรรดาศักดิ์สำหรับขุนนางและข้าราชการ ซึ่งแสดงถึงยศ ตำแหน่ง และเกียรติภูมิ
บรรดาศักดิ์มีหลายระดับ เช่น เจ้าพระยา, พระยา, พระ, หลวง, ขุน, หมื่น, พัน เป็นต้น

เมื่อข้าราชการได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ มักจะได้รับ “ราชทินนาม” ควบคู่ไปด้วย ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะที่บ่งบอกถึงคุณงามความดีหรือความสามารถในหน้าที่การงาน

ท่านปรีดีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาอำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม” เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2471

ดังนั้น “หลวง” จึงเป็นระดับยศบรรดาศักดิ์ ส่วน “ประดิษฐ์มนูธรรม” คือราชทินนามที่ได้รับพระราชทาน

เป็นเพราะปรีดีเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

“ประดิษฐ์” หมายถึง สร้างสรรค์, คิดทำขึ้น

“มนูธรรม” หมายถึง กฎหมาย, ข้อบังคับ มาจากคำว่า “มนู” + “ธรรม”

สำหรับ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – ถึงแก่กรรม 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 เป็นนักกฎหมาย นักการเมือง และรัฐบุรุษอาวุโสคนสำคัญของไทย เป็นหนึ่งในแกนนำ “คณะราษฎร” ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก (พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475) วางรากฐานระบบกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย อยู่ร่วมขบวนการเสรีไทยนอกประเทศ ช่วยทำให้ไทยไม่กลายเป็นผู้แพ้สงคราม ในสงครามโลกครั้งที่ 2

ราชทินนามนี้จึงมีความหมายยกย่องท่านในฐานะผู้สร้างสรรค์หรือวางรากฐานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด

ในช่วงเวลาดังกล่าวและหลังจากนั้น ผู้คนมักเรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า “หลวงประดิษฐ์ฯ” หรือท่านหลวงประดิษฐ์ จนกลายเป็นชื่อที่ติดปาก เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ควบคู่ไปกับชื่อจริงของท่านคือ “ปรีดี พนมยงค์”

แม้ว่าต่อมาระบบบรรดาศักดิ์จะค่อยๆ ลดบทบาทลงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีการประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2485 ก็ตาม

ส่วนอีกท่านที่มีชื่อ หลวงประดิษฐ์นำหน้าคือ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) คนไทยรู้จักมาจากภาพยนตร์เรื่อง โหมโรง นั่นเอง พระเอกผู้เล่นระนาดเอก มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

หลวงประดิษฐไพเราะ มีชื่อเดิม ศร เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตำบลดาวดึงส์ อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลง บิดาของท่านคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุ 73 ปี

สังเกตไหมว่า อาจารย์ของ ศร ก็มีตำแหน่งชื่อเดียวกัน มาจากคำว่า หลวงประดิษฐ์ กับ ไพเพราะ ที่สื่อความหมายถึงเสียง สำเนียง การดนตรี

เวลากล่าวถึง ก็จะมีการพ่วงด้วยชื่อเดิมตามหลัง เพื่อให้เข้าได้ว่ากล่าวถึงใคร

หลวงประดิษฐ์วาทกรรมคือใคร

ในโลกออนไลน์ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี แต่ธรรมชาติวัฒนธรรมของคนไทย ยังคงมีความรุ่มรวยทางอารมณ์ขัน ร่ำรวยทางภาษาไม่เปลี่ยน บัญญัติศัพท์สมัยใหม่ หยิบศัพท์จากอดีต มาสร้างสรรค์เรียกสิ่งที่เป็นกระแสในช่วงนี้อยู่เสมอ

ที่ฮิตๆ ล่าสุดคือคำว่า หลวงประดิษฐ์ หรือบางคนก็ว่า หลวงประดิษฐ์วาทกรรม มาจากการรวมความหมายสองคำคือ การประดิษฐ์ สร้างสรรค์ คำพูด

ในเพจดัง มักไพล่กล่าวถึง นักร้องรายหนึ่งที่มีความโดดเด่นในการสร้างสรรค์คำพูด เรียบเรียงคำให้น่าสนใจ รื่นหู ผ่านการคิดมาแล้วอย่างดี จึงเป็นที่มาของชื่อตำแหน่งนี้

ดังนั้น หากได้ยินคำว่าหลวงประดิษฐ์ ให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ชื่อคน แต่คือชื่อตำแหน่ง มักให้กับบุคคลที่สร้างสรรค์หรือเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button