การเงินเศรษฐกิจ

ขั้นตอน ขอเงินเยียวยาแผ่นดินไหว ได้เกือบ 5 หมื่นบาท เช็กเกณฑ์คนได้สิทธิ

เจาะลึก 8 ขั้นตอน ขอรับเงินเยียวยาแผ่นดินไหว สูงสุด 49,500 บาท ช่วยฟื้นฟูบ้านเรือนผู้ประสบภัย เช็กเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือทั้งหมด 5 รายการ วิธีขอรับสิทธิ์ มีอะไรบ้าง

สืบเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวล่าสุด ทางภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือออกมาแล้ว นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กรุงเทพมหานคร (สส. กทม.) จากพรรคประชาชน ได้ชี้แจงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการขอเงินเยียวยาเพื่อซ่อมแซมบ้าน พร้อมทั้งหลักเกณฑ์และวงเงินช่วยเหลือ เพื่อแบ่งเบาภาระแก่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

เปิด 8 ขั้นตอน สู่การรับเงินเยียวยา

รัฐบาลกำหนดวงเงินช่วยเหลือค่าซ่อมแซมบ้านพักอาศัยส่วนบุคคล รวมถึงห้องชุดในคอนโดมิเนียม (ไม่รวมพื้นที่ส่วนกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของนิติบุคคล) ไว้ในเพดานสูงสุดไม่เกิน 49,500 บาทต่อครัวเรือน โดยผู้ที่ทำประกันภัยทรัพย์สินไว้แล้ว ยังคงมีสิทธิ์ในการยื่นขอรับเงินเยียวยาตามเกณฑ์นี้ได้

กระบวนการขอรับเงินช่วยเหลือประกอบด้วย 8 ขั้นตอนหลัก ที่ผู้ประสบภัยต้องดำเนินการดังนี้

1. รวบรวมหลักฐาน

  • ถ่ายภาพความเสียหายของที่พักอาศัยให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบคำขอ

2. เตรียมเอกสารส่วนตัว

  • จัดเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พักอาศัย

3. แจ้งความลงบันทึกประจำวัน

  • ติดต่อสถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อแจ้งความและลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

4. กรอกแบบฟอร์มคำขอ

  • กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มขอรับความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (สามารถดาวน์โหลดหรือขอรับได้ที่สำนักงานเขต)

5. ยื่นเอกสารที่สำนักงานเขต

  • นำส่งเอกสารทั้งหมด (แบบฟอร์ม, หลักฐานความเสียหาย, สำเนาใบแจ้งความ, เอกสารส่วนตัว) ณ สำนักงานเขตที่ที่พักอาศัยตั้งอยู่

6. รอเจ้าหน้าที่ประเมิน

  • เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตจะนัดหมายเพื่อลงพื้นที่สำรวจและประเมินมูลค่าความเสียหายจริง

7. ส่งเรื่องเบิกจ่าย

  • หลังการประเมิน เจ้าหน้าที่จะรวบรวมข้อมูลและส่งเรื่องเบิกจ่ายเงินเยียวยาไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

8. รอรับเงินเยียวยา

  • กรม ปภ. จะพิจารณาอนุมัติงบประมาณ และติดต่อแจ้งให้เจ้าของบ้านไปรับเงินช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป

สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นขอรับความช่วยเหลือ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอได้ ที่นี่

เอกสารขอรับเงินเยียวยาแผ่นดินไหว

พื้นที่ประกาศเขตภัยพิบัติ

มาตรการเยียวยานี้ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด โดย กรุงเทพมหานคร และ สมุทรสาคร ได้รับสิทธิ์ทั้งจังหวัด ส่วน ปทุมธานี, นนทบุรี, เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, แพร่, และพิจิตร จะได้รับสิทธิ์ในบางพื้นที่ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

นายศุภณัฐ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า รายละเอียดทั้งหมดนี้มาจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องโดยตรง และยังคงคาดหวังให้หน่วยงานหลักอย่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างละเอียดและเป็นทางการอีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนรับทราบแนวปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

เกณฑ์จ่ายเงินเยียวยาแผ่นดินไหว ช่วยค่าเช่า-ค่ารักษา-ซ่อมบ้าน

1. ช่วยเหลือ 1 เดือน (3,000 บ.) กรณีบ้านเสียหายบางส่วน หรือ 2 เดือน (6,000 บ.) กรณีเสียหายทั้งหลัง

2. สำหรับผู้เสียชีวิต ช่วยค่าจัดการศพ ไม่เกินรายละ 29,700 บาท

3. ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท (ผู้ป่วยนอก) หรือ 4,000 บาท (ผู้ป่วยใน) ต่อคน

4. เงินปลอบขวัญ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่เกินคนละ 2,300 บาท

5. ค่าซ่อมแซมที่อยู่ กรณีบ้านได้รับความเสียหาย ช่วยเหลือครอบครัวละ ไม่เกิน 49,500 บาท

6. เงินทุนประกอบอาชีพ กรณีเครื่องมือประกอบอาชีพเสียหาย ช่วยเหลือครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท

สำหรับขั้นตอนการขอรับความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยจะต้องติดต่อ ขอหนังสือรับรอง ณ สำนักงานเขต ที่เกิดสาธารณภัยเป็นอันดับแรก จากนั้นให้นำหนังสือรับรองดังกล่าวมายื่นคำขอรับความช่วยเหลือ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประสบภัย ทั้งนี้ กทม. จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละกรณี โดยอ้างอิงตามระเบียบที่กำหนด (สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือสำหรับประชาชนของ กทม.)

การเยียวยาผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว ตามเกณฑ์ของ กทม. 2568

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button