ข่าว

จับติดคุกทุกราย ตร.เอาจริง แชร์ข่าวปลอมแผ่นดินไหว วัน April Fool’s Day

แชร์ติดคุกทุกราย ตำรวจไซเบอร์เอาจริง เล่นข่าวปลอมแผ่นดินไหว วัน April Fool’s Day เมษาหน้าโง่ สร้างความตื่นตระหนก

วันนี้ 1 เมษายน 2568 ตรงกับวันเอพริลฟูลเดย์ หรือวันเมษาหน้าโง่ เพจเฟซบุ๊ก “ตำรวจไซเบอร์-บช.สอท.” ได้แจ้งเตือนข้อกฎหมายประชาชน ห้ามแชร์ข่าวปลอมถึงสถานการณ์แผ่นดินไหว โดนจับติดคุกจริง

“April Fool’s Day ตำรวจไซเบอร์เอาจริง อย่าหาสร้างหรือแชร์ข่าวปลอมไม่คิด จับติดคุกทุกราย !

ด้วยประเทศไทยเพิ่งประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จนนำมาสู่เหตุการณ์ตึกถล่มในพื้นที่จตุจักร ซึ่งทำให้เกิดความสะเทือนใจต่อคนไทยทั้งประเทศ

วันที่ 1 เม.ย. 68 ของทุกปี เป็นวัน April Fools’ Day หรือวันเมษาหน้าโง่ หรือวันโกหก ซึ่งโดยปกติมักจะมีผู้คนสร้างเรื่องโกหกมาล้อเล่นกันตามโซเชียล แต่จากสถานการณ์ของประเทศไทยที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ตำรวจไซเบอร์จึงขอเตือน ระมัดระวังการสร้างหรือแชร์ข้อมูลเท็จ จนทำให้เกิดความเดือดร้อนหรือสร้างความตื่นตระหนกในสังคม หากพบ ตำรวจไซเบอร์จะจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด !

การสร้างหรือแชร์ข่าวปลอม มีความผิดตามกฎหมาย ดังนี้

นำเข้าข้อมูลปลอม ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จทุจริต ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14(1)
– โทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลเท็จ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14(15)
– โทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร่วมแชร์ ร่วมด่า แสดงความคิดเห็นที่หยาบคาย ผิดกฎหมายอาญา ม.328 ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
– โทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท”

ย้อนอดีต เล่นมุกข่าวปลอม วันเมษาหน้าโง่ จนงานเข้า

ทั้งนี้ ที่มา​วันเมษาหน้าโง่ หรือ April Fool’s Day เป็นวันที่ผู้คนในหลายประเทศนิยมเล่นมุกตลกหรือหลอกลวงกันเพื่อความสนุกสนาน ต้นกำเนิดของวันนี้ไม่แน่ชัด แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่าเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 16 เมื่อมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางส่วนยังคงฉลองปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ทำให้ถูกล้อเลียนและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเล่นมุกหลอกลวงในวันนี้

ที่ผ่านมามีบทเรียน หลายเหตุการณ์ในต่างประเทศที่เล่นมุก April Fool’s Day เลยเถิดจนส่งผลเสียจริงจัง บางกรณีทำให้เกิดความตื่นตระหนก ความเสียหายต่อชื่อเสียงองค์กร หรือแม้กระทั่งต้องมีการเข้าแทรกแซงจากหน่วยงานรัฐเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น BBC – “Spaghetti Tree Hoax” (1957, อังกฤษ)

หนึ่งในมุก April Fool’s ที่โด่งดังที่สุดของโลก สถานีโทรทัศน์ BBC ออกอากาศสารคดีปลอมเกี่ยวกับ “การเก็บเกี่ยวเส้นสปาเกตตีจากต้นไม้” ในสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ชมจำนวนมากเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงและโทรมาถามวิธีปลูกต้นสปาเกตตี ผลกระทบ ไม่รุนแรง แต่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่สื่อหลักก็สามารถชักจูงผู้คนได้ถ้าไม่ตรวจสอบให้ดี

Virgin Airlines การเปิดเส้นทางบินใหม่ไปยังดาวอังคาร (2005, สหราชอาณาจักร) สายการบินประกาศเปิดรับจองเที่ยวบินไปดาวอังคาร คนจำนวนมากตื่นเต้นจริงและพยายามจองตั๋ว สร้างความสับสนชั่วคราว และต้องออกมาชี้แจงในภายหลังว่าเป็นแค่มุกตลก

Google Gmail Mic Drop (2016, สหรัฐฯ) กูเกิล เปิดฟีเจอร์ “Mic Drop” บน Gmail ที่จะส่งอีเมลพร้อม gif ตัวละคร Minion โยนไมค์ทิ้ง เพื่อ “ปิดจ๊อบ” การสนทนา — ปัญหาคือปุ่มนี้อยู่ใกล้กับปุ่ม “Send” ปกติ ทำให้หลายคนส่งอีเมลงานสำคัญโดยไม่ตั้งใจ พร้อมภาพ Minion มีคนโดนไล่ออกจากงานและโดนต่อว่า เพราะเหมือนปิดบทสนทนาแบบไม่ให้เกียรติ กูเกิลต้องรีบปิดฟีเจอร์และออกมาขอโทษทันที

US Media ประกาศ “น้ำประปาเป็นพิษ” (1980, สหรัฐฯ) สถานีวิทยุในบอสตันรายงานว่ารัฐบาลพบว่ามีสารพิษในน้ำประปา ส่งผลให้คนพากันหยุดใช้น้ำและโทรหาตำรวจจำนวนมาก ผลคือเกิดความตื่นตระหนกในระดับเมือง เจ้าหน้าที่ต้องออกมาชี้แจงว่าเป็นมุกหลอกเล่น

เยอรมนี – แจ้งเตือน “ภูเขาไฟระเบิด” (2014) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเมือง Bielefeld รายงานว่า “ภูเขาไฟ Teutoburg” ใกล้ระเบิด คนจำนวนมากตื่นตกใจ ผลคือการเตือนภัยเท็จทำให้เจ้าหน้าที่ต้องออกมาแถลงข่าวชี้แจง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button