พบ “ฝุ่นพิษบนดาวอังคาร” อันตรายถึงชีวิต ดับฝันมนุษยชาติตั้งรกรากบนดาวใหม่

ดับฝันมนุษยชาติ งานงิจัยล่าสุดพบ ฝุ่นพิษบนดาวอังคาร อันตรายถึงชีวิต นักบินอวกาศลงไปทำภารกิจแค่ไม่นาน กลับมาเกือบไม่รอด
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา หนึ่งในเป้าหมายของการสำรวจดาวอังคารคือการศึกษาความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะไปสร้างอาณานิคมแห่งใหม่ และดำรงชีพบนดาวเคราะห์สีแดงเพื่อนบ้านดวงนี้ แต่ดูเหมือนว่างานวิจัยชิ้นนี้อาจทำให้ความฝันดังกล่าวต้องพังทลายลงแบบไม่มีชิ้นดี
เพราะล่าสุด ทีมวิจัยพบว่ามีฝุ่นพิษอยู่บนดาวอังคาร ซึ่งมีทั้ง ซิลิกา ยิปซัม เปอร์คลอเรต และเหล็กออกไซด์ ซึ่งอาจส่งผลและคุกคามชีวิตของผู้ที่อาศัยได้
จัสติน หวัง นักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (USC) หนึ่งในทีมวิจัยได้กล่าวว่า “สิ่งที่อันตรายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือความเสี่ยงต่อปอดของนักบินอวกาศ เนื่องจากฝุ่นเหล่านี้มีขนาดเล็กมาก จึงคาดว่ามันจะอยู่ในปอดของนักบินอวกาศ และบางส่วนอาจถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด”
“เนื่องจากการรับรัสในอวกาศ นักบินอวกาศมีความเสี่ยงที่จะเกิดผังผืดในปอดอยู่แล้ว และอันตรายหลายอย่าง เช่น ซิลิกา และเหล็กออกไซด์ อาจทำให้เกิดโรคปอดที่ทับซ้อนกันได้”
นอกจากนี้ หวัง ยังเน้นย้ำถึงคงามกังวลที่ว่า เปอร์คลอเรต สารเคมีที่ตรวจพบในระดับที่เป็นพิษในดินของดาวอังคาร อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และทำให้เกิดโรคโลหิตจากจากการขาดเม็ดเลือด อันเนื่องมาจากภาวะที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดได้เพียงพอ
จากการศึกษาพบว่า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเดินทางกลับจากดาวอังคารนาน รวมไปถึงการสื่อสารกับโลกที่ล่าช้า สิ่งที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นด้วยการกรองฝุ่น การทำความสะอาดห้องโดยสาร และใช้เครื่องสร้างแรงผลักทางไฟฟ้าสถิต
อย่างไรก็ตาม หวัง ยังมองในแง่ดีว่า ฝุ่นพิษนี้ไม่ได้ทำให้ภารกิจไปยังดาวอังคารเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ โดยบอกว่า “แม้ว่าฝุ่นบนดาวอังคารจะไม่ใช่ส่วนที่อันตรายที่สุดของภารกิจในการไปดาวอังคาร แต่ก็เป็นอันตรายอย่างแน่นอนต่อนักบินอวกาศ แต่ก็ยังสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากเราเตรียมการรับมืออย่างเหมาะสม”
ขณะที่ ไบรอัน ไฮเน็ก ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยโบลเดอร์ หนึ่งในทีมวิจัย ได้เน้นย้ำถึงผลกระทบในวงกว้าวของฝุ่นดังกล่าวบนดาวอังคารว่า “ฝุ่นตกลงมาจากท้องฟ้าตลอดเวลา ปกคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ทุก ๆ 2-3 ปีจะมีพายุที่ปกคลุมดาวอังคารซึ่งสร้างชั้นหนาขึ้นมา”
เขายังเน้นย้ำอีว่า ยานอวกาศ ยานพาหนะ แผงโซลาร์เซลล์ และอุปการณ์อื่นๆ จะต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทำงานต่อไปได้
“ยานสำรวจของเราเคยประสบกับปัญหานี้มาแล้วจากการสูญเสียเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์หรือภารกิจทั้งหมด เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์มีฝุ่นเกาะหนาเกินกว่าจะชาร์จแบตเตอรี่ได้”
แม้ว่างานวิจัยนี้จะยังไม่ได้ศึกษาไปไกลถึงขั้นผลกระทบระยะยาวหากมีมนุษย์ไปอาศัยอยู่บนดาวอังคาร แต่ขนาดนักบินอวกาศที่ทำภารกิจบนดาวอังคารเพียงชั่วคราวยังอาจได้รับผลกระทบอันตราย ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่า การอาศัยบนดาวอังคารไม่สามารถเกิดขึ้นได้ นอกเสียว่าจะมีระบบจัดการฝุ่นพิษเหล่านี้ที่รัดกุมมากพอ
อ้างอิง : CNN
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เยอรมันระทึก! รถพุ่งชน ปชช. กลางกรุงเบอร์ลิน บาดเจ็บหลายราย
- ดราม่าญี่ปุ่น “สตรีทเปียโน” ใครควรเล่น หลังเจอผู้ดูแลไล่กลับบ้าน อย่าคิดโชว์หากยังไม่เก่ง
- จับพ่อใจบาป ฆ่าข่มขืนลูกสาว 13 ตัดมือทิ้งบ้านร้าง