การเงินเศรษฐกิจ

เปิดยอดสูญเสีย 5 กระทรวง ข้าราชการลาออกมากที่สุด ปีงบฯ 66

เพจเฟซบุ๊ก “LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร” ได้เผยสถิติ การสูญเสียข้าราชการพลเรือนสามัญ สูงสุด 5 กระทรวง ปีงบประมาณ 2566 พบว่า

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีอัตราสูญเสียสูงสุด รวม 9,308 คน แบ่งเป็น ​เกษียณ 3,843 คน การลาออก 5,268 คน​ ผิดวินัย 9 ​คน และเสียชีวิต 188 คน

กระทรวงมหาดไทย (มท.) รวม 2,375 คน แบ่งเป็นเกษียณ ​ 1,236 คน การลาออก 1,020 คน ผิดวินัย ​55 คน​ ​และเสียชีวิต ​64 คน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวม 1,606 คน แบ่งเป็นเกษียณ​ 904 คน การลาออก 616 คน ผิดวินัย 21 คน​ ​และเสียชีวิต ​65 คน

กระทรวงการคลัง รวม 1,585 คน แบ่งเป็นเกษียณ 931 คน การลาออก 604 คน ผิดวินัย 18 คน​ ​และเสียชีวิต ​32 คน

กระทรวงคมนาคม รวม 806 คน แบ่งเป็นเกษียณ 499 คน การลาออก 280 คน ผิดวินัย 6 คน​ ​และเสียชีวิต 21 คน

 5 กระทรวง ข้าราชการลาออกมากที่สุด ปีงบประมาณ 2566

จากข้อมูล จะเห็นได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีจำนวน “ลาออก” มากที่สุดถึง 5,268 คน ซึ่งสูงกว่าจำนวนเกษียณเสียอีก (3,843 คน) และคิดเป็นสัดส่วนการลาออกประมาณ 56.6% ของจำนวนคนที่ออกทั้งหมด (ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม) สะท้อนถึงปัญหาบางประการในด้านบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นภาระงานที่หนัก ความกดดัน หรือโอกาสในภาคเอกชนที่มีรายได้สูงกว่า

ขณะที่กระทรวงมหาดไทย สัดส่วนการลาออกประมาณ 42.9% เมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ออกทั้งหมด แม้ว่าจะเป็นรองกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็นับว่าสูงเช่นกัน กระทรวงมหาดไทยต้องดูแลภารกิจทั้งในส่วนระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น ซึ่งการโยกย้ายหรืองานภาคสนามอาจทำให้เจ้าหน้าที่บางส่วนลาออกก่อนเกษียณ

กระทรวงเกษตรฯ สัดส่วนการลาออกประมาณ 38.3% แม้จำนวนรวมจะน้อยกว่ากระทรวงสาธารณสุขและมหาดไทย แต่ยังถือเป็นตัวเลขที่น่าสนใจ เนื่องจากงานด้านส่งเสริมการเกษตร วิจัย และบริหารพื้นที่ อาจประสบปัญหาทั้งเรื่องความก้าวหน้าในสายงานและการโยกย้ายไปทำงานในภาคเอกชนที่อาจมีผลตอบแทนดีกว่า

อันดับ 4 กระทรวงการคลัง สัดส่วนการลาออกประมาณ 38.1% กระทรวงการคลังอาจเผชิญการแข่งขันในตลาดแรงงานกับภาคเอกชนในสายการเงินและบัญชี ซึ่งค่าตอบแทนและสวัสดิการบางครั้งสูงกว่า จูงใจให้บุคลากรบางส่วนเลือกออกก่อนกำหนด

สุดท้ายกระทรวงการคลังสัดส่วนการลาออกประมาณ 34.7% ถือว่าต่ำกว่ากระทรวงอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ แต่ก็ยังมีผลต่อการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของคมนาคม

ที่น่าสนใจคือกระทรวงสาธารณสุขตัวเลขการลาออกกระโดดสูงมากจากกระทรวงอื่น ปัจจัยหลักที่ชัดเจน เสียงสะท้อนจากบุคลากรมาจาก ภาระงานหนัก โดยเฉพาะช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีงานด้านสาธารณสุขเร่งด่วนมาก เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงจำนวนอัตราส่วนหมอต่อผู้ป่วยที่ไม่สมดุลกัน ทำให้บุคลากรเหนื่อยล้า ขาดสมดุลชีวิตและการทำงาน ต้องเข้าเวรข้ามวัน เงินตกเบิก

สุขภาพที่เสียไปไม่คุ้มกับรายได้และค่าตอบแทน เมื่อเทียบกับภาคเอกชน เช่น โรงพยาบาลเอกชน หรือโอกาสไปทำงานต่างประเทศ อาจจูงใจให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขตัดสินใจลาออก ไปทำงานเอกชน หรือเปิดคลินิกของตัวเอง รายได้เยอะกว่า

ผลกระทบที่จะเกิดกับคนไข้คือ โดยเฉพาะผู้ป่วยสิทธิ 30 บาทโรงพยาบาลของรัฐ หากขาดบุคลากรทางการแพทย์หจำนวนมาก อาจทำให้บริการสาธารณสุขมีประสิทธิภาพลดลง กระทบต่อภาพรวมด้านสวัสดิการและสุขภาพของประชาชน

หมอพยาบาลลาออกจากราชการมากที่สุด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx