ยกเลิกประกันสังคม ใช้บัตรทอง 30 บาท ดีไหม? ปลัดแรงงานยันสิทธิรักษา

ยกเลิกประกันสังคม ใช้บัตรทอง คนแห่คาใจเงิน 750 บาทต่อเดือน ไม่คุ้มสิทธิรักษา ร้อนถึง ปลัดแรงงาน ยันเองไม่น้อยหน้า “สิทธิบัตรทอง 30 บาท” หลัง ไอซ์ รักชนก แฉสะบั้นเฉลี่ยเอาเงินสมทบผู้ประกันตนแลกตั๋วเที่ยวบินเฟิร์สคลาส บอร์ดประกันสังคม เสียงสวดยับประชาชนคนเคยใช้สิทธิรักษาจริง พาทัวร์ไปลง 2 เพจหน่วยงานฉ่ำ
จากกรณีวิกาษ์วิจารณ์เรื่องสิทธิประโยชน์การรักษาณปัจจุบันระหว่างเงินจำนวนต่อเดือนที่ตกราว 750 บาท ที่เป็นสิทธิการรักษาในรูปแบบของระบบ “ประกันสังคม” กับ “สิทธิบัตรทอง 30 บาท” แบบไหนคุ้มค่ากับผู้จ่ายเงินสมทบกว่ากัน โดยเฉพาะหลังจาก “ไอซ์” รักชนก สส.พรรคประชาชน ออกมาตรวจสอบความโปร่งใสและได้มีการตั้งคำถามถึงความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับเรื่องสิทธิรักษาโรคต่างๆ ของผู้ประกันตนที่
ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณฯ “ไอซ์” รักชนก ใช้คำว่าปัจจุบันสิทธิรักษาประกันสังคม “ห่วย” กว่า “บัตรทอง 30 บาท”
ทั้งนี้ ต่อมา บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ออกมาอธิบายกรณีที่ รักชนก ศรีนอก ตั้งคำถามต่างๆกับสำนักงานประกันสังคม เรื่องแรกเป็นเรื่องของคณะกรรมการการแพทย์ประกันสังคมที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่ส่งผลกระทบทำให้สิทธิการรักษาพยาบาลของประกันสังคมไม่เทียบเท่าสิทธิบัตรทอง ของ สปสช.
นายบุญสงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการการแพทย์สำนักงานประกันสังคม พิจารณาทุกอย่างภายใต้กรอบของระเบียบและเป้าหมายเพื่อสิทธิประโยชน์ต่อผู้ประกันตน และพยายามพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่อเนื่อง โดยสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงสิทธิรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึง 7 กรณี คือ คลอดบุตร , สงเคราะห์บุตร ,เจ็บป่วย ,พิการ ,ว่างงาน ,เกษียณ ,และเสียชีวิต
เจตนารมณ์ของกองทุนประกันสังคมต้องการเฉลี่ยสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงให้ความสำคัญเรื่องการจ่ายเงินสะสมในบั้นปลายชีวิต (บำเหน็จ-บำนาญ) เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น ยืนยันว่า คณะกรรมการการแพทย์ทำงานภายใต้กรอบกติกาที่กฎหมายกำหนด โดยแต่ละการประชุม ทางบอร์ดแพทย์จะนำเรื่องต่าง ๆ มาพิจารณาเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน แต่สิทธิประโยชน์ของประกันสังคม กับ “สิทธิบัตรทอง” ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คนละทิศทางกัน
อ้างอิงจากไทยพีบีเอส ปลักดแรงงานยังย้ำด้วยว่า กำลังให้สปส.เตรียมชี้แจงว่าหากจะเทียบเคียงการรักษาพยาบาลของประกันสังคมกับสิทธิบัตรทองของ สปสช. แตกต่างอย่างไรบ้าง และให้ทางบอร์ดแพทย์ประกันสังคมได้ออกมาชี้แจงด้วย ซึ่งบอร์ดแพทย์ประกันสังคม มาจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนฝั่งนายจ้างและผู้ประกันตน นอกจากนี้ในปี 2568 กำลังเตรียมการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านให้กับผู้ประกันตน
ทั้งนี้จากการตรวจสอบเสีรยงวิพาหกษ์วิจารณ์บนโซเชียลซึ่ง #ประกันสังคม ช่วงหนึ่งติดเทรนด์บนเอ็กซ์ ขณะที่บนสื่อประชาสัมพันธ์ของทั้ง 2 หน่วยงาน ทั้งเพจสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และเพจของกระทรวงแรงงาน ต่างมีผู้คนพาเข้าไปคอมเมนต์วิพาก์วิจารณ์ รวมถึงบางคนยังเข้ามาพิมพ์สอบถามแสดงเจตจำนงจ “อยากยกเลิกประกันสังคม” ขอเงินคืนแทน แต่ไม่แน่ใจจะทำได้หรือไม่
ตัวอย่างเสียงวิจารณ์บางส่วนจากทั้ง 2 เฟซบุ๊กเพจหน่วยงานที่กำลังเป็นประเด็น
“จ่ายมาเป็นแสน บริการ…..แย่”
“ทำไมค่าทำแอพ SSO แพงจัง”


สิ่งที่ควรเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนคือ บำเหน็จ และบำนาญ จะได้มีค่าใช้จ่ายในตอนแก่
ใช้ 7% 9% ถ้า นำมาจัดสรรให้พ่อแม่แรงงานได้ฟันปลอม รถเข็นไฟฟ้า นอนห้องพิเศษสัก คืนสองคืน ไม่มีใครมาบ่นด่าคุณหรอกครับ
คอมทเมนตืทั้งหมดข้างต้น อ้างอิงมาจากบัญชีต้นทาง “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office” ขณะที่ตัวอย่างอีกหนึ่งความคิดเห็นปิดทท้ายด้านล่างนั้นเป็นของผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กท่านหนึ่งที่ไปคอมเมนต์ใในเพจของกระทรวงแรงงาน เป็นการร่ายยาวถึงบทบาทหน้าที่ของนักการเมืองท่ามกลางประเด็นร้อนที่ “บอร์ดประกันสังคม” กำลังเผชิญกับคำถามครั้งใหญาจากภาคประชาชน ดังนี้
“เป็นนักการเมือง หมายถึง “มีหน้าที่รับใช้ประชาชน” ประชาชนจึงเอาเงินภาษี เงินสมทบ จ่ายเป็นเงินเดือนให้พวกคุณ ไม่ใช่ให้ประชาชนมารับใช้ โดยเอาเงินภาษีมาผลาญเล่น อยากนั่ง 1st class อยากเที่ยว ตปท. อยากหรู อยากแกลม พวกคุณลาออกไปทำธุรกิจเถอะ เวลาแปรงฟันมองหน้าตัวเองในกระจก รู้สึกภูมิใจมากมั้ย *กรูจะเขียนเพราะกรูเป็ฯคนที่ส่งเงินมา 10ปี”.

ทั้งนี้ข้อมูลในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 ได้ระบุถึงการมีอยู่ของ “กองทุนประกันสังคม” ระบุว่า ให้จัดตั้งกองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นทุนในใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทน ซึ่งการส่งเงินสมทบจะประกอบด้วยรัฐบาล ร้อยละ 2.75 นายจ้าง ร้อยละ 5 และผู้ประกันตน ร้อยละ 5 ซึ่งจะหักจากเงินเดือนของลูกจ้าง โดยเงินกองทุนประกันสังคม ร้อยละ 10 ต่อปี จะถูกหักออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงานฯ
ข้อกำหนดของกองทุนประกันสังคมกำหนดไว้ว่า “นายจ้าง” ผู้ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมขึ้นทะเบียน “ผู้ประกันตน” ให้ลูกจ้างภายใน 30 วันนับจากวันที่มีการจ้างงาน

การเป็นผู้ประกันตน มีความหมายถึงลูกจ้างที่จ่ายเงินสมทบจนเกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มที่ทำงานประจำ ต้องจ่ายเงินสมทบตามกฎหมาย (มาตรา 33)
- กลุ่มผู้ที่เคยส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่มีการลาออกจากงาน โดยไม่ได้เข้าสู่การทำงานประจำ และมีความประสงค์ที่จะใช้สิทธิผู้ประกันตนต่อ สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังลาออก
- กลุ่มอาชีพอิสระ ที่มีอายุ 15-60 ปี เลือกจ่ายเงินสมทบเองเพื่อให้ได้สิทธิประกันสังคม หรือเรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 40
ทั้งนี้ หากนายจ้างเจตนาไม่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้แก่ลูกจ้างจะมีความผิด ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กองทุนประกันสังคมได้กำหนดสิทธิประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน 7 สิทธิ ดังนี้
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีเสียชีวิต
- การสงเคราะห์บุตร
- กรณีชราภาพ หรือเงินบำเหน็จบำนาญ
- การทดแทนกรณีว่างงาน ยกเว้นผู้ประกันตนมาตรา 39
ดังนั้น หากดูตามข้อกฎหมายแล้ว นายจ้างผู้มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้แก่ลูกจ้าง เป็นเรื่องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ เนื่องจากมีบทลงโทษตามกฎหมาย ทำให้ปัจจุบัน ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2567 มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมถึง 24.80 ล้านคน แบ่งออกเป็นมาตรา 33 จำนวน 12.07 ล้านคน มาตรา 39 จำนวน 1.72 ล้านคน และมาตรา 40 จำนวน 11.01 ล้านคน โดยทางประกันสังคมได้มีการจ่ายสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมทั้ง 7 กรณี รวม 38.58 ล้านครั้ง เป็นเงินกว่า 112,829 ล้านบาท.
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- เปิดตารางดูงาน ประกันสังคม ทริปหรู First Class บินฉ่ำต่างประเทศได้อะไรบ้าง
- ปลัดแรงงาน ไม่รับปากขึ้นค่าแรง 400 บาท ปีนี้ รอตั้งทีมชุดใหม่ ยันทำเต็มที่
- 750 บาท ที่ส่งประกันสังคม แลกตั๋วบินชั้นหรู 1 ใบ ผู้ประกันตนได้อะไร?