ตรุษจีนเยาวราช 2568 ประดับไฟตระการตา ไหว้เจ้าเสริมมงคลปีมะเส็ง
ยิ่งใหญ่ตระการตา! ตรุษจีนเยาวราช 2568 จัดไฟตกแต่งสุดอลังการตลอดถนนเยาวราช พบกิจกรรมแสดงเชิดสิงโต มังกร และจุดเช็กอินแสนสวย
ตรุษจีนเยาวราช 2568 กลับมาอีกครั้ง พร้อมความยิ่งใหญ่ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของเยาวราชในฐานะไชน่าทาวน์อันดับหนึ่งของประเทศไทย งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 9 กุมภาพันธ์ 2568 บนถนนเยาวราช ภายใต้แนวคิด อิกไนท์ ยัวร์ เซนส์ส เอนเบรซ อาวร์ ทู คัลเจอร์ส (Ignite Your Senses Embrace Our Two Cultures) เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและจีน การประดับไฟและกิจกรรมต่าง ๆ ในงาน จะทำให้คุณได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศตรุษจีนที่งดงามและหลากหลายความหมาย
ไฮไลท์ตรุษจีนเยาวราช 2568
หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงานตรุษจีนเยาวราช 2568 “ปีมะเส็งมหามงคล อุดมโชคลาภ” คือ การประดับไฟสวยงามบนถนนเยาวราช ตั้งแต่บริเวณ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ วงเวียนโอเดียน ไปจนถึง แยกเฉลิมบุรี ซึ่งจัดแสดงระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 9 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 24.00 น.
ไฟที่ใช้ในการตกแต่งเน้นโทนสีแดงและทอง เพื่อสื่อถึงพลังแห่งความสำเร็จ ความมั่งคั่ง และโชคลาภ นอกจากนี้ยังมีการสร้างซุ้มไฟรูปงูสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ของปีมะเส็ง พร้อมประดับดอกไม้ไฟหลากสีที่สะท้อนความงดงามของความสัมพันธ์ระหว่างสองวัฒนธรรมไทย-จีน
นอกจากความสวยงามของแสงไฟ การจัดงานยังเต็มไปด้วยกิจกรรมหลากหลายที่คุณต้องมาสัมผัส อาทิ
- การแสดงเชิดสิงโตและมังกรสุดตระการตา พร้อมขบวนสิงโตบนเสาดอกเหมย
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมจีน ที่จัดให้ชมฟรีทุกวัน
- จุด Check-in รอบบริเวณงานที่ตกแต่งอย่างสวยงาม
- ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกให้เลือกซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน
- การแสดงพิเศษจากศิลปินที่มีชื่อเสียง
ไหว้เจ้าเสริมศิริมงคล
เทศกาลตรุษจีนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการขอพรให้ชีวิตราบรื่นและมั่งคั่ง เยาวราชมีศาลเจ้าหลายแห่งที่คนไทยเชื้อสายจีนนิยมไปสักการะในช่วงตรุษจีน เช่น
1.วัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกรกมลาวาส)
วัดเล่งเน่ยยี่หรือวัดมังกรกมลาวาส) เป็นวัดเก่าแก่ที่ขึ้นชื่อเรื่องการเสริมดวงชะตาและขอพรด้านโชคลาภ สุขภาพ และความสำเร็จ พระประธานในวัดคือ “พระศรีศากยมุนี” ที่ประดิษฐานในอุโบสถที่มีสถาปัตยกรรมจีนอันวิจิตรงดงาม ของไหว้ที่นิยม ได้แก่ ธูป เทียน ผลไม้ ซาลาเปา
- เวลาเปิด-ปิด: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06:00 น. – 17:00 น.
- พิกัดที่ตั้ง: 423 ถ.เยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
- แผนที่: Google maps
2. ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า
ที่นี่เป็นจุดศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนมักมาขอพรเรื่องสุขภาพและความสงบสุขในชีวิต โดยมีองค์เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพรเป็นประธาน ของไหว้ที่นิยม ได้แก่ ดอกไม้ ผลไม้ น้ำชา
- เวลาเปิด-ปิด: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08:00 น. – 18:00 น.
- พิกัดที่ตั้ง: 212/5 ถ.เยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
- แผนที่: Google maps
3. ศาลเจ้าไต้ฮงกง
ศาลเจ้าเก่าแก่ที่คนมักไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและขอพรเรื่องหน้าที่การงาน และการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรบุรุษที่ล่วงลับ พระประธานของศาลเจ้าแห่งนี้คือ “หลวงปู่ไต้ฮงโจวซือ” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทยเชื้อสายจีน ผลไม้ ขนม เครื่องกระดาษจีน น้ำชา
- เวลาเปิด-ปิด: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08:00 น. – 18:00 น.
- พิกัดที่ตั้ง: 114 ถ.เยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
- แผนที่: Google maps
4. ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ
ศาลเจ้าเก่าแก่ที่อยู่ในซอยเล็ก ๆ บนถนนเยาวราช นิยมขอพรเรื่องโชคลาภและความร่มเย็นเป็นสุข พระประธานของศาลเจ้าแห่งนี้คือ “เจ้าพ่อเล่งบ๊วยเอี๊ยะ” ของไหว้ที่นิยม ได้แก่ ผลไม้ ธูป เทียน
- เวลาเปิด-ปิด: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08:00 น. – 18:00 น.
- พิกัดที่ตั้ง: 4 ซอย 1 ถ.เยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
- แผนที่: Google maps
5. ศาลเจ้าเห้งเจีย
ตั้งอยู่บริเวณถนนเยาวราช บริเวณตรงถนนฝั่งข้ามห้างสรรพสินค้า แอม ไชน่า ศาลนี้เป็นที่นิยมสำหรับการขอพรด้านความสำเร็จและการปัดเป่าเคราะห์ร้าย องค์ประธานคือ “เทพเจ้าวานรเห้งเจีย” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและปัญญา ของไหว้ที่นิยม ได้แก่ ธูป เทียน ผลไม้
- เวลาเปิด-ปิด: เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08:00 น. – 18:00 น. (ช่วงเทศกาลอาจขยายเวลาปิด)
- พิกัดที่ตั้ง: 257 ถ.เยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
- แผนที่: Google maps
การเดินทาง
- รถไฟฟ้า MRT: ลงสถานีวัดมังกร ออกทางออก 3 เดินต่ออีกประมาณ 200 เมตร
- รถประจำทาง: สาย 1, 4, 7, 25, 40, 53, 73
- รถยนต์ส่วนตัว: สามารถจอดรถได้ที่จุดจอดใกล้เคียง เช่น ลานจอดรถวัดไตรมิตร หรืออาคารจอดรถส่วนกลาง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- งานตรุษจีนกรุงเทพ 2568 ช้อปชิม ชมการแสดง ไหว้พระขอพร รับปีมะเส็ง
- สรุปทุกเรื่องต้องรู้ วันตรุษจีน 2568 เช็กปฏิทิน จ่าย-ไหว้-เที่ยว หยุดกี่วัน ขอพรยังไงบ้าง
- ข้อห้ามวันตรุษจีน 15 ข้อ สิ่งห้ามทำถ้าไม่อยากโชคร้ายตลอดปี