มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ‘Easy e-Receipt’ 2567 ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี พร้อมเช็กลิสต์สินค้า-บริการ และวิธียื่นภาษีแบบเข้าใจง่าย ลุ้นครม. เคาะโครงการปี 2568
ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2567 เหล่าคนทำงานประจำเตรียมยื่น “รายการลดหย่อนภาษี” หรือ ‘Easy E-Receipt’ ปี 2567 ช่วยวางแผนภาษี เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิม อีกทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีและการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ทีมงาน The Thaiger ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการลดหย่อนภาษี 2567 พร้อมวิธีการยื่นลดหย่อนปีภาษี 2568 อัปเดต Easy E-Receipt 2568 จะมีต่อหรือไม่
เช็กลิสต์ Easy E-Receipt 2567 ซื้ออะไร ใช้ลดหย่อนภาษีได้?
1. สินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
2. ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ทั้งแบบรูปเล่ม และที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
3. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
4. ทองคำรูปพรรณนำมาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่ากำเหน็จเท่านั้น
5. ค่าซ่อมรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เข้าศูนย์ เปลี่ยนยางรถยนต์ หรืออุปกรณ์แต่งรถ
6. ค่าที่พักโรงแรม และค่าอาหารโรงแรม ที่อยู่ในระยะเวลาของโครงการ
อย่างไรก็ตามสินค้าและบริการที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ของกรมสรรพากร โดยต้องระบุชื่อ-นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อหรือผู้รับบริการอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ผู้ใช้สิทธิสามารถเช็กร้านค้าและบริการที่ร่วมรายการได้ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร efiling.rd.go.th และเว็บไซต์ etax.rd.go.th เลือกเมนู ‘ผู้มีสิทธิจัดทำ’ หน้าจอจะปรากฏรายชื่อผู้มีสิทธิจัดทำใบกำกับภาษีหรือใบรับโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
สินค้าหรือบริการที่ไม่ร่วมมาตรการ Easy E-Receipt
1. ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
2. ค่าซื้อยาสูบ
3. ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
4. ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
6. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
7. ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการ และผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาที่กำหนด เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าสมาชิกฟิตเนส
ใครมีสิทธิเข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt 2567 ได้บ้าง?
สำหรับผู้ที่มีอสิทธิเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt ต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 โดยไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงื่อนไขว่าต้องซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหลักฐานเป็นเอกสารใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ที่ออกผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
ระยะเวลาร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ไม่เกิน 50,000 บาท สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีปี 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท
ขั้นตอนการยื่นเอกสารลดหย่อนปีภาษี 2568
ผู้ที่ประสงค์จะยื่นเอกสารเพื่อลดหย่อนปีภาษี 2568 ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ได้แก่ หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องแสดงถึงรายได้รวมทั้งปีหลังจากหักชำระกองทุนต่าง ๆ, รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ทั้งปี และ เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น เงินที่ซื้อกองทุน เบี้ยประกันชีวิต ประกันต่าง ๆ หรือค่าใช้จ่ายที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการ
จากนั้นเข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.efiling.rd.go.th และทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ค้นหาคำว่า ‘ยื่นแบบและชำระภาษีทุกประเภทแบบ’ เลือกเมนู ‘ยื่นแบบออนไลน์’
2. จากนั้น ‘เข้าสู่ระบบ’ ด้วย Digital ID หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
3. อ่านข้อตกลงแล้วกดยอมรับเงื่อนไข และเลือกยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. เช็กข้อมูลผู้เสียภาษีว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด และสถานที่ติดต่อ แล้วกดถัดไป
5. กรอกข้อมูลรายได้ที่มาจากหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมทั้งหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่ทำงาน หากมีรายได้จากงานรับจ้างทั่วไปต้องกรอกข้อมูลลงไปด้วย
6. กรอกข้อมูลและรายละเอียดการลดหย่อนภาษษีที่รวบรวมได้ ได้แก่ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา และบุตร, เบี้ยประกันชีวิต, เงินสะสมกองทุน หรือเงินบริจาค เป็นต้น จากนั้นระบบจะคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้โดยอัตโนมัติ
ข้อมูลจาก กรมประชาสัมพันธ์ ได้แจงรายละเอียดการคำนวณ ‘จำนวนภาษีที่ลดหย่อนได้จริง’ มีดังนี้
- ผู้ที่เสียภาษี 5% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 2,500 บาท
- ผู้ที่เสียภาษี 10% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 5,000 บาท
- ผู้ที่เสียภาษี 15% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 7,500 บาท
- ผู้ที่เสียภาษี 20% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 10,000 บาท
- ผู้ที่เสียภาษี 25% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 12,500 บาท
- ผู้ที่เสียภาษี 30% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 15,000 บาท
- ผู้ที่เสียภาษี 35% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 17,500 บาท
7. หลังจากตรวจสอบข้อมูลแล้ว เลือกยืนยันการยื่นแบบ
ยื่นขอคืนเงินภาษีได้เงินคืนภายในกี่วัน
กรมสรรพากร แจ้งว่า การขอคืนเงินภาษีจะดำเนินการคืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือน กรณีมีเอกสารชัดเจนแสดงว่าได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี หรือแบบ ค.10
คลังเสนอโครงการ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษี เริ่ม ม.ค. 68
วันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอโครงการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt ในที่ประชุมครม. เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ในปี 2568 รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะใช้หลักดเกณฑ์การยื่นภาษีในเงื่อนไขเดิม สามารถยื่นลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท โดยแผนที่จะเริ่มโครงการในเดือนมกราคม 2568
กระทรวงการคลังมีเงื่อนไข และข้อกำหนดว่า ผู้ที่สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีกทั้งมีหลักฐานเป็นเอกสารใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ที่ออกผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
สำหรับระยะเวลาการดำเนินโครงการนั้นต้องรอที่ประชุมครม. จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง ซึ่งกำหนดการระยะเวลาในปี 2567 นั้นกำหนดให้เริ่มใช้จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 ใช้ยื่นปี 68 เช็กเอกสาร-สถานที่ยื่น
- วิธีแก้ กำกับภาษี Easy E-Receipt หาย ใช้ลดหย่อนภาษี 2567
- “ดอกเบี้ยบ้าน” จ่ายไปไม่เสียเปล่า ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท